Worksheet_6_คลังความรู้คลังข้อสอบ




คลังความรู้คลังข้อสอบ



สวัสดีเพื่อนๆ Blogger ทุกคน บทความต่อไปนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบการศึกษาใหม่

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบ TCAS ซึ่งเริ่มต้นใช้ในปี 2560

และใครที่ต้องการทบทวนบทเรียนวิชาต่างๆเลือกทบทวนได้จากลิงก์ใต้บทความนี้


การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใหม่

(Thai university Central Admission System : TCAS)

- รมว.ศธ. ได้มอบหมายให้ ทปอ. พิจารณาปรับรูปแบบการรับเข้าศึกษา โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียนจนจบหลักสูตร ให้จัดการสอบเพื่อการคัดเลือกได้หลังจากนักเรียนเรียนจบหลักสูตรโดยใช้ข้อสอบของส่วนกลาง และให้มีการบริหารสิทธิ์ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย

- ทปอ. ได้รับหลักการ โดยเสนอแนวทางการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ โดยสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ. จำนวน 30 แห่ง ร่วมกันพิจารณากระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ด้วยหลักการ 3 ประการ

- ทปอ. ราชภัฏ และ ทปอ. ราชมงคล ได้รับหลักการในการเข้าร่วมดำเนินการตามแนวทางนี้ด้วย

หลักการสำคัญของ TCAS มี 3 ประการ ดังนี้
      1. นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
      2. ผู้สมัครแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค
      3. สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะเข้าระบบ Clearing House เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ของผู้สมัคร


ข้อปฏิบัติระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาสถาบันอุดมศึกษา TCAS ปีการศึกษา 2561


การรับสมัคร

1. การรับสมัครและการคัดเลือกรอบที่ 1/1, 1/2, 2 และ 5 ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัย/สถาบันที่เปิดรับสมัคร และเป็นไปตามคุณสมบัติและประกาศของมหาวิทยาลัย/สถาบันนั้นๆ

2. การรับสมัครในรอบที่ 3 ดำเนินการโดยสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ส่วนการคัดเลือกดำเนินการโดยมหาวิทยาลัย/สถาบันที่เปิดรับสมัคร และเป็นไปตามคุณสมบัติและประกาศของมหาวิทยาลัย/สถาบันที่เปิดรับสมัคร

3. การรับสมัครและการคัดเลือกในรอบที่ 4 ดำเนินการโดยสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และเป็นไปตามคุณสมบัติและประกาศของสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

การคัดเลือกของสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในรอบที่ 4

1. สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จะพิจารณาอันดับการเลือกจากใบสมัครที่ทำการสมัครครั้งล่าสุดและมีการชำระเงินเท่านั้น

2. ผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องก่อนยืนยันการสมัคร หากตรวจสอบพบว่า ข้อมูลที่แจ้งในใบสมัครเป็นเท็จ จะถือว่าการสมัครนี้เป็นโมฆะ และจะถูกตัดสิทธิ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา TCAS เป็นเวลา 3 ปี

3. สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครที่มีผลคะแนน O-NET ในปีที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

4. ผู้สมัครจะต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าภายในปีการศึกษา 2560 (ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2560)

5. ผู้สมัครที่จบการศึกษาจากต่างประเทศต้องส่งใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) พร้อมทั้งลงนามรับรองสำเนา ส่งมายังสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

6. ผู้สมัครจะต้องมีคะแนนรายวิชาครบตามองค์ประกอบที่แต่ละคณะ/สาขาวิชานั้นๆกำหนด หากมีคะแนนรายวิชาไม่ครบ จะถือว่าขาดคุณสมบัติเข้าศึกษาในคณะ/สาขาวิชานั้น

การสัมภาษณ์

1. หลักฐานประกอบการสอบสัมภาษณ์ ให้นำมาแสดงพร้อมสำเนาในวันสอบสัมภาษณ์ ได้แก่

   - ใบสมัครที่พิมพ์ออกจากระบบการรับสมัคร

   - วุฒิบัตรการศึกษา (ระเบียนแสดงผลการเรียน)

   - บัตรประจำตัวประชาชน หรือพาสปอร์ต หรือใบต่างด้าว หรือหลักฐานตามที่ทางราชการออกให้มาแสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย

   - หลักฐานอื่น (ถ้ามี) ซึ่งสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยจะประกาศให้ทราบในวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายทาง http://tcas.cupt.net

2. หลักฐานประกอบการสอบสัมภาษณ์ไม่ครบ จะไม่อนุญาตให้เข้าสอบสัมภาษณ์

การยืนยันสิทธิ์

1. ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกในแต่ละรอบ (ยกเว้นรอบที่ 4) ต้องทำการยืนยันสิทธิ์ที่ http://tcas.cupt.net หากไม่ทำการยืนยันสิทธิ์ จะถือว่าผู้ได้รับการคัดเลือกสละสิทธิ์ทั้งหมด

2. ผู้ได้รับการคัดเลือกมีสิทธิ์ในการยืนยันสิทธิ์ในคณะ/สาขาที่ต้องการได้เพียง 1 คณะ/สาขาเท่านั้น

3. ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกมีสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงการยืนยันสิทธิ์ในคณะ/สาขาที่ต้องการได้ 3 ครั้ง และภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น หากครบ 3 ครั้งแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก ยกเว้นการสละสิทธิ์ทั้งหมด

4. ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก เมื่อได้ยืนยันสิทธิ์แล้ว จะถูกตัดสิทธิ์จากการสมัครรอบถัดไป หากต้องการสมัครในรอบถัดไปจะต้องสละสิทธิ์ที่มีอยู่ก่อน ซึ่งการยืนยันสิทธิ์และการสละสิทธิ์จะต้องทำในระยะเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น



คําถาม – คําตอบ ระบบ TCAS 


1.ระบบ TCAS คืออะไร
   

ตอบ  ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใหม่ (Thai university Central Admission System : TCAS) ดําเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป  

- รมว.ศธ. ได้มอบหมายให้ ทปอ. พิจารณาปรับรูปแบบการรับเข้าศึกษา โดยมีหลักการที่สําคัญ คือ ให้นักเรียนอยู่ ในห้องเรียนจนจบหลักสูตร ให้จัดการสอบเพื่อการคัดเลือกได้หลังจากนักเรียนเรียนจบหลักสูตรโดยใช้ข้อสอบของส่วนกลาง และให้มีการบริหารสิทธิ์ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย  

- ทปอ. ได้รับหลักการโดยเสนอแนวทางการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ โดย สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ. จํานวน 30 แห่ง ร่วมกันพิจารณากระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อใน สถาบันอุดมศึกษา เพื่อต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ด้วย หลักการ 3 ประการ  

- ทปอ. ราชภัฏ และ ทปอ. ราชมงคล ได้รับหลักการในการเข้าร่วมดําเนินการตามแนวทางนี้ด้วย 
หลักการสําคัญของ TCAS มี 3 ประการ ดังนี้      

1. นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6      

2. ผู้สมัครแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค      

3. สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะเข้าระบบ Clearing House เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ ของผู้สมัคร 



2.   ระบบ TCAS มีกี่รอบ   

ตอบ  ระบบ TCAS มี 5 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 การรับด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน แบ่งเป็น รอบที่ 1/1 และ รอบที่ 1/2

รอบที่ 2 การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อปฏิบัติ

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน (โดยสมัครที่ส่วนกลาง เลือกได้ 4 คณะ/สาขา)

รอบที่ 4 การรับแบบ Admissions 

รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ 



3. นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่า มีสถาบันอุดมศึกษาใดบ้างที่เข้าร่วมระบบ TCAS   

ตอบ  สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมจะแจ้งให้นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกทราบ และสามารถดูได้ทางเว็บไซต http://tcas.cupt.net 



4. เคลียริงเฮาส์คืออะไร   

ตอบ เป็นการดําเนินการภายใต้ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการให้นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกในระบบรับตรงเข้าระบบเคลียริงเฮาส์ โดยจะต้องทําการยืนยันสิทธิ์เพื่อ เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาผ่านทางเว็บไซต์  http://tcas.cupt.net ของสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศ ไทยตามวันที่กําหนด



5.   การยืนยันสิทธิ์เคลียริงเฮาส์เลือกได้กี่ครั้ง เลือกแล้วเปลี่ยนได้ไหม     

ตอบ การยืนยันสิทธิ์เปลี่ยนแปลงได้แต่ต้องไม่เกิน 3 ครั้ง สมาคม ทปอ. จะยึดข้อมูลครั้งหลังสุดที่นักเรียนยืนยยันสิทธิ์  และสามารถสละสิทธิ์ได้ ภายในวันที่สมาคม ทปอ. กําหนด

ซึ่งการสละสิทธิ มี 2 แบบ คือ

1) ไม่เข้ามาทํา การใดๆ ถือว่าสละสิทธิ์  

2) เข้ามากดสละสิทธิ์ในระบบ 


6. ถ้ายืนยันสิทธิ์เคลียริงเฮาส์ไปแล้ว จะสามารถสมัคร TCAS รอบถัดไปได้หรือไม่     

ตอบ นักเรียนที่ยืนยันสิทธิ์จะถูกตัดสิทธิ์ในระบบ TCAS รอบถัดไป 


7. เมื่อยืนยันสิทธิ์แล้วต้องดําเนินการอย่างไร     

ตอบ หลังจากยืนยันสิทธิ์ สมาคม ทปอ. จะส่งรายชื่อผู้ที่ยืนยันสิทธิ์ไปยังมหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัย ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบรับตรง นักเรียนสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่นักเรียน สอบติดและเว็บไซต์  http://tcas.cupt.net ซึ่งนักเรียนที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาจะต้องชําระค่าธรรมเนียมการศึกษา และ ดําเนินการอื่นๆ ตามประกาศและข้อบังคับของสถาบันแห่งนั้น 


8.  วิชาสามัญ 9 วิชา มีวิชาอะไรบ้าง   

ตอบ วิชาสามัญ 9 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร1 คณิตศาสตร2  ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และ วิทยาศาสตรทั่วไป  


9.  จะสมัครสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ได้ที่ไหน   

ตอบ สมัครสอบได้ทางเว็บไซต์ของ สทศ. http://www.niets.or.th 



10.  นักเรียนสามารถสอบ 9 วิชาสามัญได้กี่ครั้ง   

ตอบ  นักเรียนสอบวิชาสามัญ 9 วิชาเพียงครั้งเดียว สามารถนําคะแนนไปใช้สมัครรับตรงได้ทุกมหาวิทยาลัยที่ กําหนดให้ใช้วิชาสามัญ 9 วิชา  
 


11.  ต้องไปสอบสัมภาษณ์ที่ไหน     

ตอบ  นักเรียนต้องติดตามการประกาศของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่นักเรียนไปสมัคร เมื่อมหาวิทยาลัย ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์นักเรียนต้องไปสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายที่มหาวิทยาลัยที่สอบติดใน วันและเวลาที่มหาวิทยาลัยกําหนด 


12.  หลังจากสอบสัมภาษณ์แล้วต้องทําอย่างไร     

ตอบ หลังจากการสอบสัมภาษณ์ มหาวิทยาลัยจะส่งรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์หรือผ่านการคัดเลือกไป ยังสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และ สมาคมฯ จะประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับคัดเลือก ทางเว็บไซต์http://tcas.cupt.net ในวันเวลาที่ สมาคมฯ กําหนด นักเรียนที่สอบติดรับตรงจะต้องเลือกหรือ ยืนยันสิทธิ์มหาวิทยาลัยที่นักเรียนประสงค์เข้าศึกษาได้เพียงแห่งเดียว โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ http://tcas.cupt.net ใน วันเวลาที่ สมาคม ทปอ. กําหนด  
รอบที่ 4 (แอดมิชชั่น)

13.  รอบที่ 4 หรือระบบแอดมิชชั่นกลางใช้องค์ประกอบอะไรบ้าง   

ตอบ  GPAX  20%

O-NET  30%

GAT  10-50%

PAT  0-40% 

14.  นักเรียนต้องเตรียมตัวอย่างไรในการเข้ามหาวิทยาลัยโดยระบบแอดมิชชั่นกลาง   

ตอบ นักเรียนต้องศึกษาคุณสมบัติของแต่ละคณะที่ต้องการจะเลือกว่าใช้สัดส่วนคะแนน O-NET  GAT และ PAT เท่าไหร่บ้าง แล้วสอบ O-NET, GAT, PAT ซึ่งจัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ตามวันเวลา ที่ สทศ. กําหนด และต้องจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 

15.  การแอดมิชชั่นกลางใช้เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) กี่ภาคการศึกษา   

ตอบ ใช้GPAX 6 ภาคการศึกษา จากใบรับรองผลการศึกษาที่ระบุวันที่จบภายในวันสุดท้ายของการรบัสมัครแอด มิชชั่นกลาง 


16.   ต้องใช้ 9 วิชาสามัญในการสมัครแอดมิชชั่นหรือไม่
   

ตอบ ไม่ใช้  


17.  GPAX ที่ใช้ในแอดมิชชั่นกลาง เป็น GPAX ที่ใช้ O-NET ถ่วง หรือGPAX ที่นักเรียนได้จริง   

ตอบ ใช้ GPAX ที่นักเรียนได้จริง และลงวันที่จบการศึกษาภายในวันที่ 15 พ.ค. ของปีการศึกษานั้นๆ


18.  GPAX ใน ปพ. ไม่ตรงกับที่สมาคม ทปอ. ประกาศ   

ตอบ สมาคม ทปอ. ยึดคะแนน GPAX จากสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.)  ในกรณีนี้ ให้นักเรียน ดําเนินการติดต่อทางโรงเรียนเพื่อประสานงานกับต้นสังกัด 

19.  เรียนอยู่ปี 1 แล้ว จะมาแอดมิชชั่นกลางต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยก่อนหรือไม่   

ตอบ อยู่ปี 1 แอดมิชชั่นได้โดยไม่ต้องลาออก ยกเว้นผู้ที่ศึกษาอยู่คณะเภสัชศาสตร์ที่ต้องการมาแอดมิชชั่นเข้า คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอื่น ต้องลาออกก่อนที่มหาวิทยาลัยส่งรายชื่อตัดสิทธิ์มาที่ สมาคม ทปอ. 

20.  เรียนจบสายศิลป์จะแอดมิชชั่นเข้ามหาวิทยาลัยสายวิทย์ได้ไหม   

ตอบ ให้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะในหนังสือระเบียบการคัดเลือกฯ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กําหนด 

21.  สมัครแอดมิชชั่นแล้ว จะสามารถสมัครใหม่เลือกคณะใหม่ได้ไหม     

ตอบ สมัครได้  โดยดําเนินการตามขั้นตอน  ดังนี้

1. กรอกข้อมูลผู้สมัคร และเลือกคณะ/สาขา ที่ต้องการ

2. พิมพ์ใบสมัคร

3. นําใบสมัครไปชําระเงิน

การใช้ใบสมัครประมวลผล

1. กรณีที่ยังไม่ได้นําใบสมัครไปชําระเงินแต่เปลี่ยนใจ นักเรียนสามารถคีย์ใบสมัครใหม่ได้และนําใบสมัครที่ ต้องการไปชําระเงิน

2. กรณีที่นําใบสมัครไปชําระเงินแล้วต้องการเปลี่ยนคณะ นักเรียนต้องสมัครใหม่และไปชําระเงิน ทั้งนี้ต้อง ดําเนินการภายในวันเวลาที่สมาคม ทปอ. กําหนด

3. กรณีที่ชําระค่าสมัครหลายใบ สมาคม ทปอ. จะใช้ข้อมูลจากใบสมัครที่มีเลขที่สมัครมากที่สุดที่ชําระเงิน ค่าสมัครแล้ว (แม้ว่าจะนําใบสมัครที่มีเลขที่สมัครน้อยกว่าไปชําระเงินทีหลังใบสมัครที่มีเลขที่สมัครมากกว่าก็ตาม จะถือว่าใบสมัครที่มีเลขที่สมัครน้อยกว่าเป็นโมฆะ)

 

ปฎิทิน






 O-Net








📱 Application แนะนำ📱









🚨 คลังความรู้ 🚨


PHYSIC





 MATH




 SOCIAL




Cr.https://www.youtube.com/

🚨 คลังติว 🚨



  





---------------------------------------------


moral and Ethics






ค่านิยม 12 ประการ





     1. ความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์
      = การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงความสำนึกและภาคภูมิใจความเป็นไทยปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือและจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน  มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
     = การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง  ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่น  ละความเห็นแก่ตัว  รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือสังคมและบุคคลที่ควรให้  รู้จักควบคุมตัวเองเมื่อประสบกับความยากลำบากและสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
     = การประพฤติที่แสดงถึงการรู้จักบุญคุณ ปฏิบัติตามคำสั่งสอน  แสดงความรัก  ความเคารพ  ความเอาใจใส่  รักษาชื่อเสียง  และตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่  ผู้ปกครอง  และครูอาจารย์

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
     = การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตั้งใจเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียน  แสวงหาความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
     =  การปฏิบัติตนที่แสดงถึงการเห็นคุณค่า  ความสำคัญ  ภาคภูมใจ  อนุรักษ์  สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีไทยอันดีงาม

6. มีศีลธรรม  รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
     = การประพฤติปฏิบัติตน  โดยยึดมั่นในคำสัญญา  มีจิตใจโอบอ้อมอารี  ช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่ช่วยได้  ทั้งกำลังทรัพย์  กำลังกาย  และกำลังสติปัญญา

7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
     =  การแสดงถึงการมีความรู้  ความเข้าใจ  ปฏิบัติตนตามหน้าที่และสิทธิของตนเอง  เคารพสิทธิของผู้อื่นภายใต้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

8. มีระเบียบวินัย  เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
     =  การปฏิบัติตนตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์  ระเบียบ  ข้อบังคับ  และกฎหมายไทย  มีความเคารพและนอบน้อมต่อผู้ใหญ่

9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ  รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          =  การประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีสติรู้ตัว  รู้คิด  รู้ทำอย่างรอบคอบ  ถูกต้องเหมาะสม 
     และ น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 
   
    10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     =  การดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  มีความรู้  มีคุณธรรม  และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลสมีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
          =   การปฏิบัติตนให้มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย  และมีจิตใจที่เข้มแข็ง 
      มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป  ไม่กระทำความชั่วใด ๆ ยึดมั่นในการทำความดีของศาสนา
     
     12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
     =  การปฏิบัติตนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  และประเทศชาติ  ยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม

MV เพลง ค่านิยม 12 ประการ "ลูกทุ่ง"






ค่านิยม 12 ประการ - รวมศิลปินจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่







---------------------------------------------

ศาสตร์พระราชา


พ.ศ.2489-2510

พระราชกรณียกิจช่วงแรกเริ่ม



นับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชสมบัติวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ อันเป็นคุณประโยชน์มากมายต่อประชาชนชาวไทย โดยพระราชกรณียกิจช่วงแรกเริ่มจะเน้นไปที่การช่วยเหลือบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า โดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข และปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงสัมผัสถึงชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง และทรงพบว่ามีความขาดแคลนของประชาชนในด้านสุขภาพอนามัย ดังนั้นไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังแห่งหนตำบลใด จึงโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์หลวงที่ตามเสด็จฯ ได้ตรวจรักษาประชาชนตามรายทางในหมู่บ้านที่ขบวนเสด็จฯผ่านและโครงการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนี้ได้ขยายวงกว้างขวางออกไปในภายหลังด้วย

ในระยะแรกระหว่างปีพ.ศ.2489-2510 มีพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข

ดังนี้พ.ศ.2493 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

เนื่องจากปีนั้นประชาชนประสบปัญหาเป็นวัณโรคเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน 5 แสนบาทสร้างตึกมหิดลวงศานุสรณ์ในบริเวณสถานเสาวภา สำหรับใช้ในการผลิตวัคซีนบีซีจีเพื่อป้องกันวัณโรคให้แก่ประชาชน

ตึกนี้เปิดใช้เมื่อ พ.ศ.2494 ต่อมาพระองค์มีพระราชดำริจัดสร้างภาพยนตร์ส่วนพระองค์และจัดฉายเพื่อหารายได้จากผู้ร่วมบริจาค โดยเสด็จพระราชกุศลสร้างตึกวชิราลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ อาคารทางการแพทย์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช


พ.ศ.2495 เกิดโรคโปลิโอระบาดในประเทศไทย

ทำให้มีเด็กๆจำนวนไม่น้อยป่วยถึงขั้นเสียชีวิตและทุพพลภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงมีรับสั่งให้ทางสำนักราชเลขาธิการส่วนพระองค์โทรศัพท์สอบถามถึงการช่วยเหลือที่ต้องการ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาททรงบริจาคเครื่องปอดเทียมให้แก่พยาบาลหลายแห่ง อาทิ โรงพยาบาลศิริราช นอกจากนั้นยังทรงบริจาคเครื่องช่วยฝึกเด็กที่ทุพพลภาพด้วยในการนี้สมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ทรงช่วยเรื่องอุปกรณ์การเดินจนทำให้หน่วยแขนขาเทียมของโรงพยาบาลศิริราชได้ก้าวหน้าขึ้น จนเป็นที่พึ่งพิงแกผู้ทุพพลภาพ โดยเกิดเป็นมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระบรมราชชนนี ต่อมาทรงสนพระราชหฤทัยในการช่วยเหลือบรรดาทหารที่ต้องสูญเสียแขนขาจากการสู้รบในสงครามและเหตุการณ์อื่นๆ ทำให้หน่วยกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศจนเทียบเท่ากับประเทศอื่น

พ.ศ.2498 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุน “อานันทมหิดล” แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

ซึ่งปัจจุบันนี้คือ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้การแพทย์ของไทยเจริญไปอย่างรวดเร็วทัดเทียมประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว และเพราะว่า ขณะนั้นประเทศไทยยังขาดแพทย์ผู้ชำนาญเป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนดังกล่าวขึ้น โดยทั้งนี้จะเน้นไปที่แขนงวิชาที่ไม่มีสถาบันศึกษาภายในประเทศไทยและได้พระราชทานทุนนี้ทุกๆปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก ต่อมาได้ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า การริเริ่มพระราชทานทุนอานันทมหิดลนั้น ทำให้วงการแพทย์ไทยได้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำเร็จกลับมาทำหน้าที่เป็นอาจารย์แพทย์ที่ดีและท่านเหล่านี้ได้มีส่วนสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์เป็นอย่างมาก จึงทำให้หลายภาคส่วนให้ความสนใจร่วมบริจาคเงินสมทบทุนอย่างมากมาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทุนนี้เปลี่ยนเป็นมูลนิธิเพื่อดำเนินการไปอย่างถาวรและเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จึงได้พระราชทานนาม มูลนิธินี้ว่า “มูลนิธิอานันทมหิดล”

พ.ศ.2499 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ผ่านทางมูลนิธิอานันทมหิดลสร้างสถาบันราชประชาสมาสัย
เพื่อทำงานร่วมกับโรงพยาบาลโรคเรื้อนพระประแดงที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุปถัมภ์ไว้แต่เดิม ทำให้การรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนทำได้ครบวงจร คือทั้งการรักษาและการศึกษาหาทางควบคุมโรค
พ.ศ.2500 จุดเริ่มต้นโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรและประทับแรม ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นเวลานานจึงได้ทรงรับสั่งให้แพทย์พยาบาลส่วนพระองค์ที่ตามเสด็จฯ มาด้วยจัดเครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องใช้ยารักษาโรค ออกทำการตรวจรักษาประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการชาวเขาทางภาคเหนือและทรงพบว่าราษฎรที่มารอรับเสด็จฯ ป่วยเป็นไข้กันมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ประจำพระองค์ที่ตามเสด็จฯ ตรวจและรักษาคนไข้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 เป็นต้น
พ.ศ. 2510 ทรงให้กำเนิดโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน 25 โครงการ
เพื่อแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ทางด้านสุขภาพอนามัย จำนวนราษฎรทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในการบำบัดรักษาจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทานจะเป็นชาวชนบทที่ยากจนที่มีอาชีพเป็นเกษตรกร
2. ทางด้านเศรษฐกิจ การที่ราษฎรเจ็บป่วยจะเป็นปัญหาในการประกอบอาชีพของราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่จะต้องใช้กำลังภายในการทำงาน ดังนั้น เมื่อได้รับการบำบัดรักษาให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีแล้วราษฎรเหล่านั้นก็สามารถมีร่างกายที่สามารถต่อสู้กับงานหนักในการประกอบอาชีพได้ ซึ่งจะได้ยังผลให้เศรษฐกิจส่วนรวมของสังคมดีขึ้นอย่างแน่นอน

พ.ศ.2511-2530

วิธีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน


ดังที่ทราบกันดีว่าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นเกษตรกร ดังนั้นโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเกี่ยวข้องอยู่กับเรื่องของการพัฒนาปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ที่ทำกิน ทุน และความรู้ด้านเกษตรกรรม โดยมีหลักการสำคัญของทุกเรื่องคือความเรียบง่าย ดังที่ได้ทรงใช้คำว่า “Simplify” หรือ “Simplicity” ซึ่งหมายความว่าโครงการต่างๆจะต้องเรียบง่ายไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทั้งในแนวความคิดและด้านเทคนิควิชาการจะต้องสมเหตุสมผล ทำได้รวดเร็วและสามารถแก้ไขปัญหาให้ก่อประโยชน์ได้จริง ตลอดจนมุ่งไปสู่วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) อีกด้วย โดยศึกษาและวิจัยหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตรได้เริ่มขึ้นภายในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
เมื่อปีพ.ศ. 2504 ภายใต้ชื่อ “โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา”
มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อศึกษาและวิจัยหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตรต่างๆ เช่น การปลูกข้าว การเลี้ยงโคนม การเพาะพันธุ์ปลานิล ฯลฯ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าว ก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำเกษตรกรรมอีกมากมายนอกจากนี้ยังเป็นการดำเนินการโดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทน จึงได้มีโครงการที่ตั้งขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางด้านการเกษตร เช่น เมื่อเกิดปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงนมผงขึ้น เพื่อแปรรูปน้ำนมดิบให้เก็บไว้ได้นาน โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนในการก่อสร้างและยังมีการตั้งศูนย์รวมนม เพื่อรับซื้อน้ำนมจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมอีกด้วย
พ.ศ. 2512 โครงการหลวงและโครงการฝนหลวงโครงการหลวงกำเนิด “โครงการหลวง”
ในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชผลเมืองหนาว ทดแทนการปลูกฝิ่น ตามแนวพระราชดำริที่ว่า “ช่วยให้เขา ช่วยตัวเอง” โดยหม่อมเจ้าภีศเดชรัชนี เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะประธานมูลนิธิโครงการหลวงโดยสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวงคือ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ. ฝาง จ. เชียงใหม่
ซึ่งในปัจจุบันโครงการหลวงได้ขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ทั้งใน 5 จังหวัดภาคเหนือคือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน รวมหมู่บ้านในเขตปฏิบัติการทั้งสิ้น 267 หมู่บ้านผลผลิตจากโครงการหลวงในปัจจุบัน ประกอบด้วย ผักปลอดภัยสารพิษ สมุนไพร ถั่วและธัญพืช ผลไม้ เห็ด ดอกไม้เมืองหนาว ผลิตผลปศุสัตว์ ผลิตผลประมงผลิตผลป่าไม้ ดอกไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์จากแฝก ไม้กระถาง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ อีกมากมาย
โครงการฝนหลวงเมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและใช้ในการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" (Artificial Rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 แล้ว ด้วยความสำเร็จของโครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีการก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป
การพัฒนาดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของทรัพยากรที่ดิน ทั้งในแง่ของปัญหาดินที่เสื่อมโทรม ขาดคุณภาพ และการขาดแคลนที่ดินทำกินสำหรับเกษตรกร แนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรที่ดินสามารถแบ่งได้เป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การจัดและพัฒนาที่ดิน 2. การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน 3. การดำเนินการเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน "ป่าเตรียมสงวน"

1. การจัดและพัฒนาที่ดินปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร
เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในอดีต งานจัดและพัฒนาที่ดินจึงเป็นงานแรกๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงให้ความสำคัญ ทรงเริ่มโครงการพัฒนาที่ดินหุบกะพง ตามพระราชประสงค์ เมื่อปี พ.ศ.2511 โดยมุ่งแก้ไขปัญหาการไม่มีที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นสำคัญดังพระราชดำรัสที่ว่า
"…มีความเดือดร้อนอย่างยิ่งว่าประชาชนในเมืองไทยจะไร้ที่ดิน และถ้าไร้ที่ดินแล้วก็จะทำงานเป็นทาสเขา ซึ่งเราไม่ปรารถนาที่จะให้ประชาชนเป็นทาสคนอื่น แต่ถ้าเราสามารถที่จะขจัดปัญหานี้ โดยเอาที่ดินจำแนกจัดสรรอย่างยุติธรรม อย่างมีการจัดตั้งจะเรียกว่านิคมหรือจะเรียกว่าหมู่หรือกลุ่ม หรือสหกรณ์ก็ตาม ก็จะทำให้คนที่มีชีวิตแร้นแค้นสามารถที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้…"
พระราชดำริแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ได้แก่ การนำเอาวิธีการปฏิรูปที่ดินมาใช้ในการจัดและพัฒนาที่ดินที่เป็นป่าเสื่อมโทรม ทิ้งร้าง ว่างเปล่า นำมาจัดสรรให้เกษตรกรที่ไร้ที่ทำกิน ได้ประกอบอาชีพ ในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์ และโครงการจัดและพัฒนาที่ดินในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้ได้ให้สิทธิทำกินชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง พร้อมกับจัดบริการพื้นฐานให้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการจัดพื้นที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขา สามารถดำรงชีพอยู่ได้เป็นหลักแหล่ง โดยไม่ต้องทำลายป่าอีกต่อไปในการจัดพื้นที่ต่างๆ ดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีหลักการว่าโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เช่น โครงการนิคมสหกรณ์หุบกะพง (ในพระบรมราชูปถัมภ์) อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี โครงการจัดพัฒนาที่ดินทุ่งลุยลาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ. คอนสาร จ. ชัยภูมิ และโครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ "หนองพลับ" อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์
2. การพัฒนาและอนุรักษ์ดินหลังจากงานจัดสรรที่ดินทำกินในระยะแรกแล้ว
แนวพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ขยายขอบเขตไปสู่เรื่องการพัฒนาและอนุรักษ์ดินเพื่อการเกษตรกรรม โดยมุ่งเน้นวีธีการตามธรรมชาติที่พยายามสร้างความสมดุลของระบบนิเวศ เช่น ให้มีการปลูกไม้ใช้สอยร่วมกับการปลูกพืชไร่ เพื่อสร้างร่มเงาและรักษาความชุ่มชื้น หรือการปลูกพืชบางชนิดในพื้นที่ซึ่งดินไม่ดี แต่พืชชนิดนั้นให้ประโยชน์ในการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนใช้ปุ๋ยเคมี หรือพื้นที่บางแห่งไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผล ทรงแนะนำให้ใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น ฟื้นฟูเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้นในระยะต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาที่ดินที่เน้นเฉพาะเรื่องมากขึ้น เช่น การศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทราย ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาดินพรุ ในภาคใต้ และที่ดินชายฝั่งทะเล รวมถึงงานในการแก้ไขปรับปรุงและฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมพังทลายจากการชะล้างหน้าดิน ตลอดจนการทำแปลงสาธิตการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในบางพื้นที่ ที่มีปัญหาในเรื่องดินเสื่อมโทรมด้วยสาเหตุต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องดินทั้งหลาย สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีก
3. การดำเนินการเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน "ป่าเตรียมสงวน"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า ปัญหาการบุกรุกเข้า


พ.ศ.2531-2540
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน

งานทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสนพระทัยมีมากและได้ทรงดำเนินการที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ก้าวหน้าทันสมัยสามารถแบ่งแยกให้เด่นชัดในด้านต่างๆ ดังนี้
วิศวกรรมการเกษตรกับการพัฒนาแหล่งน้ำและพลังงาน
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในชนบททรงได้พบเห็นท้องถิ่นหลายแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ ทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูกาลการเพาะปลูกเกษตรกรจะประสบความเดือดร้อนมากในขณะฝนทิ้งช่วง ซึ่งสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง ดังนั้น ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรงความเป็นอัจฉริยะในพระองค์ท่าน ในปีพุทธศักราช 2499 ได้มีพระราชดำริให้ค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกฤดูกาลธรรมชาติ โดยนำเทคโนโลยีและทรัพยากรที่มีอยู่มาประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝนในเขตร้อน และเป็นที่มาของ “ฝนหลวง” ดังที่ที่รู้จักกันโดยทั่วไปต่อมาได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง
เมื่อปีพุทธศักราช 2518 เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง และมีสถานีปฏิบัติการฝนหลวงกระจายตามภูมิภาค 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ลพบุรี และประจวบคีรีขันธ์นอกจากนี้ในเรื่องของน้ำซึ่งนับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อมนษย์ ทั้งในด้านการบริโภค อุปโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการคมนาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตระหนักถึงความสำคัญของน้ำต่อชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร จากการเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมราษฎร ทำให้ทรงได้รับข้อมูลปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งเพื่อการเพาะปลูกและการบริโภคอุปโภคโครงการพัฒนาแหล่งน้ำโครงการแรกที่กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างเพื่อสนองพระราชดำริ คือ การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเก็บกักน้ำให้ราษฎรใช้บริโภคและอุปโภคในรัชสมัยนี้ มีการก่อสร้างเขื่อนจำนวนมากด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน ได้แก่ การก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาเมื่อปีพุทธศักราช 2499 เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูก และการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในปีพุทธศักราช 2501 และ 2506 ตามลำดับ เพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการสูบน้ำเก็บกักน้ำเพื่อการเพาะปลูกและเพื่อบรรเทาอุทกภัยด้านวิศวกรรมการเกษตรนั้น ทรงพระราชทานพระราชดำริให้ออกแบบประดิษฐ์เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในการเกษตรขึ้นหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ เครื่องเจาะข้อกระบอกเครื่องสีข้าวใช้แรงคน เครื่องนวดข้าวใช้แรงคน เครื่องสูบน้ำพลังน้ำ 5 รูปแบบ ฯลฯ
ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ ในการจัดการด้านอนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีการง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติและระบบนิเวศน์ พระองค์ท่านทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย อย่างเช่น หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจาง (Dilution) หรือ น้ำดีไล่น้ำเสีย โดยใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) โดยรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือจากแหล่งน้ำภายนอกส่งเข้าไปตามคลองต่างๆ เช่น คลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร์ และ คลองบางลำพู ฯลฯ เป็นต้น หรือดังเช่น การบำบัดน้ำเสียโดยการใช้ผักตบชวา (Filtration) ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติให้ดูดซับสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำให้บรรเทาลง ณ บึงมักกะสัน หรือใช้อธรรมปราบอธรรม นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีวศึกษา ผสมผสานกับเครื่องกลเติมอากาศแบบ “สระเติมอากาศชีวภาพบำบัด” (Aerated Lagoon) ณ บึงพระราม 9 จึงได้มีการออกแบบและสร้างเครื่องกลเติมอากาศขึ้น 9 รูปแบบ คือ RX – 1 – RX – 9 และที่รู้จักกันทั่วไป คือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” RX – 2พระราชกรณียกิจ และพระราชดำริ ด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ นี้ นับเป็นพระปรีชาสามารถของพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยากที่หาผู้ใดเสมอเหมือน เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติคุณทั่วทิศานุทิศ ดังที่มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทย ประจำพุทธศักราช 2537 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณ อีกทั้งเพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคลอันสูงค่าแก่วงการวิทยาศาสตร์ไทยสืบไป
ด้านวิจัยและพัฒนา
จากการที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและพระราชทานแนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศมากมายทำให้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีคือการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ดังนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีพื้นบ้าน ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาการทำให้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าขึ้น และด้วยเหตุนี้จึงมีการออกพระราชบัญญัติจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อรับผิดชอบ ได้แก่ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น ด้านการพัฒนาบุคลากร มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการให้ทุนทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียังต่างประเทศในหลายด้าน เช่น การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม การใช้พลังงานปรมาณู เพื่อการถนอมอาหาร การศึกษาและการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้พลังงานปรมาณูเป็นแหล่งของพลังงานไฟฟ้าในอนาคตผลงานการพัฒนาตามแนวพระราชดำรินั้น ได้ปรากฏอย่างชัดเจนแล้วในปัจจุบัน กล่าวคือ ประชาชนเหล่านั้นมีสภาพชุมชน และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีความเป็นอยู่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยพระราชอัจฉริยภาพ และสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระองค์แล้ว ยังมีสถาบันการศึกษาต่างๆ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสาขาต่างๆ รวมแล้ว 192 ปริญญา แยกเป็นปริญญาสาขาทางวิทยาศาสตร์ 82 ปริญญา วิศวกรรมศาสตร์ 16 ปริญญา สาขาอื่น เช่น สังคมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ ดนตรี นิติศาสตร์ อีก 94 ปริญญา
พ.ศ. 2530 กำเนิดมูลนิธิชัยพัฒนามูลนิธิชัยพัฒนา
เป็นมูลนิธิซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพัฒนาอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้การดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา จะเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการของรัฐที่มีอยู่แล้ว แต่จะพยายามสนับสนุน ส่งเสริม และประสานงานให้โครงการต่างๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่โครงการของรัฐถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เช่นในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วน แต่รัฐมีปัญหางบประมาณ หรือถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ มูลนิธิชัยพัฒนาจะช่วยเหลือตามความเหมาะสม เพื่อให้โครงการนั้นดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
พ.ศ. 2538 โครงการแก้มลิงโครงการแก้มลิง
เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้ ทั้งนี้ นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายน้ำ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้

พ.ศ.2540-2541
วิกฤตทางการเงินในเอเชีย

พ.ศ. 2540 เป็นช่วงวิกฤตการเงินที่ส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชีย และวิกฤตได้เริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก จนนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในขณะนั้นจึงตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท เพื่อตัดการอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ โดยก่อนหน้าการล่มสลายของค่าเงิน ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลาย และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้นทำให้ธุรกิจเอกชน เช่น บริษัทบ้านจัดสรร อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน ธนาคาร ธุรกิจการพิมพ์การโฆษณา ถูกกระทบอย่างรุนแรง หลายแห่งต้องปิดกิจการ หลายแห่งมีหนี้ท่วมตัว พนักงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน
พ.ศ. 2540-2542 พระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” หรือ “Sufficiency Economy” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างสมดุล มั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปี 2540“ความพอเพียง”
“... ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันมากเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้าน หรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...“...มีเงินเดือนเท่าไร จะต้องใช้ภายในเงินเดือน...การทำแชร์นี้เท่ากับเป็นการกู้เงิน การกู้เงินนี้นำมาใช้ในสิ่งที่ไม่ทำรายได้นั้นไม่ดี อันนี้เป็นข้อสำคัญ เพราะว่าถ้ากู้เงิน และทำให้มีรายได้ ก็เท่ากับจะใช้หนี้ได้ ไม่ต้องติดหนี้ ไม่ต้องเดือนร้อน ไม่ต้องเสียเกียรติ...กู้เงินนั้น เงินจะต้องให้เกิดประโยชน์ มิใช่กู้สำหรับไปเล่น ไปทำอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์...”พระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา4 ธันวาคม 2540
ปี 2541“เศรษฐกิจพอเพียง”
“สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน สมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีความพอเพียงได้ ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ” 
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษ 4 ธันวาคม 2541
ปี 2542เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) กับการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
“…เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า “Sufficiency Economy” ...ไม่มีอยู่ในตำราเศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ เป็นตำราใหม่ ถ้ามีอยู่ในตำรา ก็หมายความว่าเราก๊อบปี้มา เราลอกเขามา เราไม่ได้ลอก ไม่อยู่ในตำราเศรษฐกิจ...Sufficiency Economy นั้นไม่มีในตำรา การที่พูดว่าไม่มีในตำรานี่ ที่ว่าเป็นเกียรตินั้น ก็หมายความว่าเรามีความคิดใหม่ และโดยที่ผ่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่าเราก็สามารถที่จะคิดอะไรได้จะถูกจะผิดก็ช่าง แต่ว่าเขาสนใจ เขาก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น...”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา23 ธันวาคม 2542
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นทั้งหลักคิด และแนวทางปฏิบัติตนของแต่ละบุคคล และองค์กรในทุกระดับ โดยคำนึงถึง 3 หลักการ ได้แก่
(1) ความพอประมาณกับศักยภาพของตนเองและสภาวะแวดล้อมตามความเป็นจริง
(2) ความมีเหตุมีผลบนพื้นฐานความถูกต้อง
(3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง คือ ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตที่ต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตลอดเวลา และการที่จะคิด พูด ทำ อย่างพอเพียงได้นั้น จำ เป็นจะต้องใช้ความรู้ต่างๆ อย่างถูกหลักวิชาการ ด้วยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานของจิตใจ และการดำ เนินชีวิต คือสามารถรู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ละอายที่จะทำความชั่ว เกรงกลัวต่อผลจากการกระทำ ที่ไม่ถูกต้องตามทำ นองคลองธรรม ใช้สติ ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบในการทำอะไรที่ไม่เบียดเบียน หรือก่อโทษให้เกิดกับผู้อื่นหรือสังคม เห็นคุณค่าของการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แก่ผู้อื่นและชีวิตอื่นๆ เห็นความสำคัญของการร่วมมือปรองดองกันในสังคม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสายใยเชื่อมโยงคนในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมให้มีความสามัคคี มีความเพียรที่จะร่วมสร้างสรรค์พลังทางบวก อันจะนำ ไปสู่ความเจริญก้าวหน้าที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุ เศรษฐกิจ ด้านสังคม ชุมชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ต่างๆ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ หลักพอเพียง เป็นหลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางสายกลาง ที่ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นวิธีการที่เน้นการรักษาความสมดุลในการปฏิบัติภารกิจต่างๆบนพื้นฐานของความเป็นจริง ความถูกต้องอย่างเป็นเหตุเป็นผล และไม่ประมาท ไม่เสี่ยง เป็นหลักการที่สอดคล้องกับ วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย ซึ่งมีพื้นฐานตั้งอยู่บนคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา อันเป็นคำสอนที่เป็นสากล ทันสมัยตลอดเวลา เพราะเป็นคำสอนให้มนุษย์สามารถนำ ไปปฏิบัติ เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และนำ ไปประยุกต์ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย แม้ในยุคปัจจุบัน ในการปฏิบัติตน ในทุกมิติชีวิตทุกภาคส่วน และทุกด้านของการพัฒนา เพื่อสังคมส่วนรวมจะได้อยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข และเจริญก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง และยั่งยืนการใช้ชีวิตตามหลักพอเพียง หรือ ชีวิตพอเพียง นั้น หากมีความเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานของหลักปรัชญาฯ อย่างถูกต้อง และชัดเจน ก็จะสามารถนำ ไปปรับใช้ได้ ในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ และความสุขได้
ในขณะที่ หลักเศรษฐศาสตร์ หรือทฤษฎีการพัฒนาทั่วไปให้ความสำคัญกับทุน (Capital) ทรัพยากรมนุษย์ (Labour) และ
เทคโนโลยี (Technology) ในการเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต และบริการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และในช่วงทศวรรษ 2520 นักพัฒนาและนักวิชาการ ก็ได้เพิ่ม ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) เข้าไปเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งของปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสความสนใจ การพัฒนาที่ยั่งยืน ในโลก และต่อมาหลังจากที่ธนาคารโลก ได้ให้ความสนใจพิเศษในเรี่อง ทุนทางสังคม (Social capital) โดยได้รับอิทธิพลทางความคิดจากบทความที่มีชื่อเสียงของ Robert D. Putnum (1995) ปัจจัยทางด้านสังคมก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่วงการพัฒนา ให้ความสำคัญกรอบแนวคิดภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้เพิ่มอีกปัจจัยหนึ่ง คือ ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม เพื่อให้วงการพัฒนาได้ตระหนักถึงความสำคัญ โดยเน้นการพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบใน 4 ด้าน ได้แก่ วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม อย่างเป็นองค์รวม คือไม่แยกส่วน แต่เชื่อมโยง สัมพันธ์กัน อย่างเป็นเหตุเป็นผล ตามหลักอิทัปปัจจยตาของพระพุทธศาสนา องค์ประกอบ ทั้ง 4 ด้านเป็นทั้งปัจจัยที่ใช้ในกระบวนการผลิต การบริการ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นปัจจัยที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา จึงกล่าวได้ว่า คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา คือทั้งเป็นผู้กระทำ และได้รับผลของการกระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบเหล่านี้ รายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบ มีดังนี้

(1) วัตถุ หมายถึง วัตถุต่างๆ เชิงกายภาพ ที่มนุษย์สร้าง หรือประดิษฐ์ขึ้น เช่น วัตถุดิบ สิ่งของ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไม้สอย อาหารเสื้อผ้าอาภรณ์ ที่อยู่อาศัยต่างๆ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะผลิตไว้ใช้เองได้ หรือใช้วิธีแลกเปลี่ยนกันดังเช่นในอดีต ในยุคปัจจุบัน ก็สามารถซื้อหามาเพื่อบริโภคได้โดยเงินทุน องค์ประกอบนี้จึงเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ หรือเงินทุน (ในความหมายแคบ) เป็นหลัก แต่ในกระบวนการผลิตวัตถุต่างๆ เหล่านี้ ก็จำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรด้านอื่นๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด เป็นปัจจัยประกอบร่วมด้วย
(2) สิ่งแวดล้อม รวมถึง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลก โดยรวม ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน นํ้า ป่า แร่ธาตุ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นปกติของภูมิอากาศ กระแส/ทิศทางลม คลื่น พลังงานแสงอาทิตย์เป็นต้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินี้ นอกจากจะเป็นปัจจัยในการผลิตและบริการแล้ว ยังเป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลก
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงควรเป็นไปด้วยความเคารพและระมัดระวัง ด้วยความรับผิดชอบต่อคนรุ่นหลังที่จำเป็นต้องพึ่งพิงทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้ ในการดำรงชีวิตเช่นกัน

(3) สังคม หมายถึง สภาพการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมความสัมพันธ์ของคนในสังคม เช่น การไว้เนื้อเชื่อใจกัน การช่วยเหลือแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมีวินัย เคารพ กฎ เกณฑ์ ระเบียบ กติกาการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเคร่งครัด การมีกฎหมาย และระบบยุติธรรม ที่เชื่อถือได้ว่าเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ การมีความผูกพัน รักใคร่ สามัคคี ปรองดอง ของหมู่คณะและในสังคม การมีสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็ง เช่น ครอบครัวอบอุ่น เครือญาติสามัคคี การจัดระบบสวัสดิการทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในยามวิกฤตให้กับสมาชิกในสังคม เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะมีตัวอย่างให้เห็นอยู่มากมายในหลายๆประเทศ ทั้งในอดีตและปัจจุบันว่า ปัจจัยทางด้านสังคม เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนา เพราะการพัฒนาไม่ว่าจะด้านใดๆ จะไม่สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี หรือราบรื่น หรือไม่สามารถนำมาซึ่งประโยชน์ และความสุขอย่างต่อเนื่องได้ หากสังคมอ่อนแอ พื้นฐานจิตใจของคนในสังคมไม่ตั้งอยู่บนหลักศีลธรรม กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ คนไม่สามัคคีกัน เป็นต้น
(4) วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต และการดำรงชีวิตซึ่งรวมถึง ความเชื่อ ศาสนา ระบบคุณค่า ภูมิปัญญา การประกอบอาชีพวัฒนธรรมการกิน อาหารพื้นเมือง การอยู่ของผู้คน การรักษาสุขภาพการแต่งตัว ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ การแสดง โบราณสถานต่างๆเป็นต้น วัฒนธรรมมีความสำคัญอย่างมากในการบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นตัวตน การดำรงอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลาย อย่างมีศักดิ์ศรี นอกจากวัฒนธรรมจะเป็นต้นทุนสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์
ของแต่ละท้องถิ่น ทั้งในการผลิต การให้บริการ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณลักษณะเฉพาะ (Product identity / differentiation) แล้วในระยะยาว การพัฒนาที่สมดุลนั้น ควรสอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่ค่านิยม ความเชื่อ ของคนในท้องถิ่น แล้วจึงค่อยๆ ต่อยอดพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้วิถีการพัฒนา สร้างความแตกแยก หรือความแปลกแยก ขึ้นในสังคม และในขณะเดียวกัน ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาที่ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม เพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น/ชุมชน/ชนชาติ ไม่ให้ถูกกลืนหายไปนักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์วัฒนธรรม (ฉัตรทิพย์, 2542) แสดงความเห็นในเรื่องนี้โดยสรุปว่า “...สินทรัพย์ของประเทศนั้น ไม่ใช่สิ่งของที่จับต้องได้อย่างเดียว แต่คือ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม คุณค่า และปัญญาของชาวไทยเรา ไทยเป็นประเทศที่รํ่ารวยทางประวัติศาสตร์ มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ อุดมด้วยนํ้าใจไมตรีและมีขันติธรรม สืบเนื่องมายาวนาน ชุมชน และวัฒนธรรมชุมชนคือสินทรัพย์ที่มีค่าสูงยิ่งของประเทศ คือรากฐานของเศรษฐกิจแห่งชาติ...” นอกจากนี้แล้ว ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ต่างก็ตกลงกันที่จะให้ความสำคัญต่อการให้เกียรติและเคารพวัฒนธรรมที่แตกต่างเนื่องจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นสมบัติที่มีคุณค่ายิ่งของมนุษยชาติ


พ.ศ.2542-2549
นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง
บรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พ.ศ. 2542 สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เริ่มศึกษาหลักปรัชญาเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยได้บรรจุนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (2545-2549) เป็นครั้งแรก และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้คนไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น ในการจัดทำแผนระดับชาติสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้ปรับแนวคิดที่เคยเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลักมาเป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและมิติทางสังคม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) จึงเป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดที่มุ่ง “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนรวมทั้งได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆมาประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสรุปออกมาเป็นนิยามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไปและที่สำคัญ สศช. ยังได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) และฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) และต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ที่เน้นขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกระดับการพัฒนาประเทศปรับเปลี่ยนจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสู่การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบการพัฒนาประเทศไทยที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความอยู่ดีมีสุขของประชาชนชาวไทย แบ่งได้เป็น 3 ช่วง
คือ
ช่วงที่ 1 เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก มีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนด้วยการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและความเป็นประเทศเกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ผลิตสินค้าและบริการเพื่อการส่งออก
ช่วงที่ 2  มุ่งส่งเสริมการส่งออกและทดแทนการนำเข้า เป็นการใช้ประโยชน์จากปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูก โดยเฉพาะแรงงานและที่ดิน เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ประกอบกับประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจึงเริ่มดำเนินนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมเพื่อการส่งเสริมการส่งออกและทดแทนการนำเข้าที่เป็นการลงทุนจากต่างประเทศ
เกิดการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ แต่การถ่ายทอดเทคโนโลยียังเป็นเพียงการสอนให้ใช้เครื่องจักรได้
เท่านั้น ไม่มีการสร้างความรู้ความเข้าใจที่สามารถนำมาดัดแปลงให้เป็นเทคโนโลยีของไทยได้ผลการพัฒนาทั้งสองช่วง เป็นระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-7 ซึ่งพบว่า “เศรษฐกิจดีสังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน”
ช่วงที่ 3 ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่แผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 เป็นต้นมา ที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางอย่างเป็นองค์รวม มีความสมดุล และความยั่งยืนมุ่งพัฒนาคน สร้างความพร้อมของระบบให้สามารถ
ปรับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้องต่อเนื่องถึงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9-11 ที่เน้นการขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างชัดเจนเมรูปแบบในทุกระดับ ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมุ่งทำงานร่วมกับภาคประชาชนและภาคเอกชน การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีจุดเน้นในการแก้ปัญหาพื้นฐานของสังคมไทยได้แก่ความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม ทำให้ประชาชนในภาคชนบทได้รับประโยชน์จากการพัฒนา มีอาชีพที่สร้างรายได้อย่างเพียงพอ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคนที่ด้อยโอกาสหรือคนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของทุนสามารถอยู่ได้ในสังคมอย่างพอใจในสิ่งที่มีมีรายได้เลี้ยงตนเองโดยไม่ต้องมีหนี้สิน มีความรู้และสุขภาพที่แข็งแรง

พ.ศ.2543-2558
เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสรรษ

การพัฒนาในด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง 3-4 ศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดการพัฒนาด้านวัตถุมากขึ้น เกิดความต้องการใช้ทรัพยากรโลกมากขึ้น นำมาซึ่งการแย่งชิงทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่สิ้นสุดและความอยู่รอดของประชากรในโลก ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดอย่างไม่ยั่งยืน ขาดความตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว จนทำให้ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” กลายเป็นความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 นี้
ในปี 2543 องค์การสหประชาชาติได้เพิ่มแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เข้าไปเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยมุ่งที่การส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และพัฒนาคุณภาพการอยู่อาศัยของประชากรทั่วโลก
เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ 8 ประการประจำปี 2543-2558
1.ลดจำนวนผู้ขาดสารอาหารลงครึ่งหนึ่ง
2. ส่งเสริมการบรรลุการศึกษาประถมศึกษาสากล
3. ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและการเพิ่มอำนาจสตรี
4. ลดภาวะการเสียชีวิตของเด็ก
5. ส่งเสริมสุขภาพมารดา
6. ต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรียและโรคอื่น
7. ประกันความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
8. ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทั่วโลกสำหรับการพัฒนา


พ.ศ.2549
รางวัลความสำเร็จสูงสุด
ด้านการพัฒนามนุษย์

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และได้มีปาฐกถาถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด
26 MAY 2006SG/SM/10478-DEV/2576THAI KING’S DEVELOPMENT AGENDA, VISIONARY THINKING INSPIRATION TO PEOPLE EVERYWHERE, SAYS SECRETARY-GENERAL TO BANGKOK PANELSECRETARY-GENERALPRESS RELEASEหลังจากที่แนวคิกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมถึงตัวอย่าง และผลที่เกิดขึ้น ในทางปฏิบัติ ในระดับต่างๆ ได้รับการเผยแพร่ขยายไปในวงกว้าง ทาให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาฯ และการนาไปประยุกต์ใช้ในส่วนต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักจากที่มีการเผยแพร่หนังสือ “รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยปี 2550:เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน” ที่จัดพิมพ์โยสำนักโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) ทาให้แนวคิดการพัฒนาที่ให้ความสำคัญต่อ การพัฒนาคน มีความลุ่มลึกมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง เนื่องด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านความรู้ทางวิชาการ ที่เน้นการฝึกให้มีความรอบรู้ ใช้ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาในด้านคุณธรรม ให้เห็นถึงประโยชน์ที่แท้จริง คือ ประโยชน์ในระยะยาว ผ่านการสร้างจิตสานึกรับผิดชอบการอยู่ร่วมกันในสังคม การใช้ทรัพยากรของสังคม/โลก โดยคำนึงถึง ประโยชน์ส่วนรวม เพราะท้ายที่สุดแล้ว ในระยะยาวการกระทำใดๆ ก็ตาม จะส่งผลกระทบต่อส่วนรวม และย้อนกลับมากระทบต่อส่วนบุคคลในที่สุดการเห็นคุณค่าประโยชน์ส่วนรวมมนุษย์เราไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกได้ จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ซึ่งการจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมนั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของแต่ละคน ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว รวมถึงผลกระทบต่อตนเอง คนรอบข้าง ส่วนรวม และท้ายที่สุดผลกระทบที่ย้อนกลับมาหาตนเองในที่สุด และเนื่องจากทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดสภาพแวดล้อมทางสังคม/สิ่งแวดล้อมในโลก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่แน่นอน การที่จะตัดสินใจทำกิจกรรมอะไรก็ตาม เช่น การผลิต การบริโภค การลงทุน การเดินทาง การเลือกแหล่งที่อยู่อาศัย ฯลฯ จึงควรจำเป็นต้องมีหลักยึด ในการตัดสินใจ และการปฏิบัติ ซึ่งหากเป้าหมายของแต่ละคน คือประโยชน์และความสุขที่แท้จริงแล้วก็ควรดำเนินชีวิตตามหลักพอเพียง โดยมีหลักในการตัดสินใจเชิงเป้าหมายที่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว(ความยั่งยืน) โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และคำนึงถึงความสมดุลของการใช้ทรัพยากรต่างๆการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เริ่มตั้งแต่การใช้ทรัพยากรต่างๆ
เพื่อดำเนินชีวิต โดยการพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ในการตัดสินใจเลือก หรือ จัดลำดับความสำคัญในสิ่งที่จะทำ ทรัพยากรที่จะใช้ วิธีการที่จะดำเนิน ว่าจะส่งผลกระทบต่อส่วนรวม และต่อตนเองในระยะยาวอย่างไร และหากมีส่วนร่วมในการพิจารณาดำเนินโครงการ หรือ กิจกรรมพัฒนาชุมชน/สังคม ก็ควรใช้หลักพอเพียง คือ มุ่งให้เกิดประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ หรือประโยชน์ส่วนรวม เป็นหลัก โดยจัดลำดับความสำคัญตามความเร่งด่วน และความจำเป็นของปัญหา คำนึงถึงความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรและการลงทุน มากกว่าการวัดด้วยตัวเลขผลกำไร หรือรายได้ที่จะเกิดขึ้นอย่างเดียว ตามหลักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปเมื่อแต่ละคน สามารถดำเนินชีวิตพอเพียงในระดับบุคคลได้แล้ว ก็ควรให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยเริ่มจาการให้ การแบ่งปัน แก่ผู้ที่ยังขาด ยังขัดสนอยู่ในสังคม ทั้งวงแคบและวงกว้าง ตามกำลังที่แต่ละคนมี การไม่เบียดเบียน การให้ การแบ่งปัน การมีไมตรีจิตเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันของคนในสังคม เป็นพื้นฐานของความไว้ใจกันว่า สามารถพึ่งพิงอาศัยกันได้ ช่วยเหลือกันได้ในยามที่จำเป็น ซึ่งจะทำให้สังคมโดยรวม สามารถอยู่ได้อย่างสงบสุข มีความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินในเบื้องต้นเพราะเมื่อมีการช่วยเหลือบุคคลที่ขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการครองชีพ โอกาสที่คนจะประกอบอาชญากรรม กระทำความผิด เพราะความบีบคั้นที่ต้องแสวงหาปัจจัยพื้นฐานมาดำรงชีวิต ก็จะน้อยลง และนำไปสู่ความสามัคคี และความเข้มแข็งในที่สุด
เรียนรู้หลักการทรงงาน เพื่อดำเนินตามรอยพ่อการมุ่งประโยชน์สุขส่วนรวม
เป็นเป้าหมายหลักในการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เช่นเดียวกับการคิดอย่างเป็นองค์รวม มองเชิงระบบ เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง ของเหตุ ปัจจัย ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและการพัฒนา ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมในทางปฏิบัติจริง เราสามารถเรียนรู้แนวทาง หรือวิธีการทำงานได้จากหลักการทรงงานต่างๆ ของพระองค์ท่านได้ ยกตัวอย่าง เช่น การศึกษาข้อมูลอย่าเป็นระบบ เพื่อให้รู้ว่า เรามีทรัพยากรอะไรบ้าง ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ หรือมีปัญหาอย่างไร เป็นการรู้จักตนเองให้ดีก่อน อย่างรอบรู้ จะได้ตัดสินใจเลือกเส้นทางพัฒนา องค์กร/ชุมชน/สังคม/ประเทศชาติได้อย่างเหมาะสมกับสถานภาพ ในแต่ละปัจจุบัน ตามความเป็นจริง เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม จากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ตลอดจนสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ และรับผิดชอบร่วมกัน ในกระบวนการพัฒนาแต่ละคนจะได้มีความกระตือรือร้น สนใจ ใส่ใจ ในปัญหาและแนวทางการพัฒนาชุมชน รวมถึงผลที่จะเกิดขึ้น ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม การพัฒนาให้เป็นไปอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้สามารถรักษาสมดุลในแต่ละย่างก้าวของการพัฒนาได้ เพราะการพัฒนานำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และมนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้ และปรับตัวต่างกัน การที่จะทำให้เกิดประโยชน์ของการพัฒนากระจายสู่ส่วนรวมให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงพื้นฐาน ศักยภาพ และสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ในแต่ละช่วงเวลา แล้วค่อยๆ ต่อยอดการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากฐานรากตามความเป็นจริง อย่างเหมาะสม เพื่อให้การพัฒนามีความมั่นคง ชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็ง ไม่เกิดความแตกแยกในสังคมบนเส้นทางการพัฒนา

พ.ศ.2550
UNDP จัดทำหนังสือ "รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2550
:เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน"

สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้เผยแพร่รายงานการพัฒนาคนแห่งสหประชาชาติ (Thailand Human Development Report) ประจำปี 2550 ได้นำเสนอแนวพระราชดำริการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งถือเป็นการนำเสนอแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสากลเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน มุ่งสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและมั่นคง บริหารเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบ ค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็สร้างความเข้มแข็งเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันต่อประเทศได้ โดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะมุ่งเน้นความสำคัญที่ความเป็นมนุษย์ โดยเพิ่มมิติการพัฒนาด้านจิตใจและคุณธรรมเข้าไปด้วย เน้นความอยู่ดีมีสุขมากกว่าความร่ำรวย นอกจากนี้ ยังนำเสนอ การปรับวางระดับการพัฒนาคนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาภายนอกตัวคนตามองค์ประกอบดัชนีความก้าวหน้าของคน ทั้งด้านสุขภาพ การทำงาน ด้านรายได้ ที่อยู่อาศัย และด้านสภาพแวดล้อม

พ.ศ.2558-2573

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาติ SDGs

การพัฒนาที่ยั่งยืน จะเกิดขึ้นได้หากเป้าหมายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ระบบนิเวศและธรรมชาติ สอดคล้อง และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยไม่ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อระบบทางธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ และต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของคนในรุ่นนี้และรุ่นต่อๆไปในคราวเดียวกันเรื่องของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนได้ถูกหยิบยกขึ้นหารือในเวทีต่างๆทั้งระดับประเทศและระดับสากล โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหนึ่งในวาระสำคัญของ “เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ” พ.ศ.2543-2550 หรือ "Millinium Development Goals - MDGs 2000-2015" ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) เดือนกันยายน 2558 ที่ประชุมจะได้มีการพิจารณาเพื่อประกาศใช้ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2558-2573" หรือ "Sustainable Development Goals - SDGs 2015-2030" เพื่อใช้เป็นหลักและกรอบการดำเนินงานสำหรับอีก 15 ปีข้างหน้า
ประกอบด้วยเป้าหมายการพัฒนาด้านต่างๆทั้งหมด 17 ข้อ ดังนี้
1. ความยากจน
ยุติความยากจนทุกรูปแบบทั่วโลก
2. ความหิวโหยยุติภาวะขาดแคลนอาหาร
มุ่งสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food security) พัฒนาคุณภาพสารอาหารและ ส่งเสริมการทำการเกษตรที่ยั่งยืน
3. สุขภาวะ
สร้างสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงอายุ
4. การศึกษา
ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตแก่ทุกคน
5. ความเท่าเทียมทางเพศ
สร้างความเท่าเทียมทางเพศ และให้โอกาสศที่เท่าเทียมกับผู้หญิง
6. น้ำและการสุขาภิบาล
พัฒนาคุณภาพน้ำ และโอกาสในการใช้น้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคสำหรับทุกคน
7. พลังงาน
เพิ่มโอกาสในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ทันสมัยน่าไว้วางใจยั่งยืนและเพียงพอต่อการใช้งานของทุกคน
8. เศรษฐกิจและการจ้างงาน
ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม สร้างอาชีพที่ครอบคลุมมีประสิทธิภาพและเหมาะสมแก่ทุกคน
9. โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่น ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืนและกระตุ้นการสร้างนวัตกรรม
10. ความเหลื่อมล้ำ
ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและภายนอกประเทศ
11. เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
สร้างเมืองที่ผู้คนสามารถตั้งถิ่นฐานได้อย่างครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่น และยั่งยืน
12. แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
ส่งเสริมแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
13. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
เตรียมพร้อมในการตั้งรับความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศและผลกระทบที่จะตามมาอย่างเร่งด่วน
14. ทรัพยากรทางทะเล
อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
15. ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศภาคพื้นดินอย่างยั่งยืน มีการบริหารจัดการป่าไม้ ยับยั้งกระบวนการตัดไม้ทำลายป่า ยับยั้งและฟื้นฟูการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
16. สังคมและความยุติธรรม
สร้างสังคมสงบสุขอย่างทั่วถึงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในทุกชนชั้น พลเมืองทุกคนสามารถได้รับความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม และสร้างสถาบันที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และครอบคลุมทุกระดับชั้น
17. ความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล
สร้างความเข้มแข็งให้วิธีการดำเนินงานร่วมกัน และพัฒนาความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มพันธมิตรทั่วโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


CR.


พ.ศ.2559
การแสดงความอาลัยแด่พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย

ศาสตร์ของพระราชาในการพัฒนาประเทศนับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ทั้งในส่วนของการกำหนดนโยบายและการลงมือปฏิบัติร่วมกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และประชาชน เริ่มจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 เป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายคือ ปลูกฝังแนวคิดแห่งความพอเพียงตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงระดับองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนต่อไปปัจจุบัน ประเทศไทยได้น้อมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศ โดยมีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560, ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี 2560-2564, และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ Thailand 4.0โดยมุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ (17 SDGs) ขององค์การสหประชาชาติตามแนวทางของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม 77 ปี 2559 ของประเทศไทยในเวทีโลก ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านงานพัฒนากับกลุ่มประเทศ 77 ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ มีการจัดการประชุมระดับผู้เชี่ยวชาญและระดับบริหารสองครั้งในกรุงเทพฯ และในปีเดียวกัน ที่ประชุมผู้นำกลุ่ม 77 ที่จัดขึ้นระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้จริง และจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้
ศาสตร์ของพระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการคิด ตัดสินใจและการปฏิบัติสำหรับการดำเนินชีวิตหรือประกอบกิจการงานใด ๆ ด้วยการใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นฐาน ผ่านการไตร่ตรองด้วยการใช้หลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ พอประมาณ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป มีเหตุผล ตามหลักวิชาการ มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือวิกฤติที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างสมดุลในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม อันเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่ความสุขที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง


พ.ศ.2560

รายงานการพัฒนาคนแห่งสหประชาชาติโดย UNDP
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และได้พระราชทาน 9 แนวทางให้รัฐบาลและประชาชนยึดเป็นหลักปฏิบัติ ผ่านมายังนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 ได้แก่
1) ให้รัฐบาลช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนเป็นพื้นที่ๆตามมาตรการต่างๆอย่างรวดเร็ว และทั่วถึง
2) ทำทุกวิถีทางให้ประชาชนมีความสุขทั้งการช่วยเหลือการบรรเทาการจัดระเบียบการสร้างวินัยการสร้างอุดมการณ์และทำทุกมาตรการอย่างต่อเนื่อง
3) รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้นักท่องเที่ยวชื่นชม
4) สร้างภูมิคุ้มกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนตามมาตรฐานสากล
5) สร้างระบบการศึกษาทีดี ให้ประชาชนมีความรู้ที่ลึกซึ้งและใช้งานได้จริง
6) ส่งเสริมงานจิตอาสา
7) ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในระบบยุติธรรม
8) ให้ข้าราชการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อประชาชน เพื่อสร้างความศรัทธา
9) สืบสานพระราชปณิธานรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
ที่มา: ข่าวทำเนียบรัฐบาล 9 สิงหาคม 2560
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระบรมราโชบายด้านการศึกษา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่าการศึกษาควรช่วยสร้างให้คนไทยเป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง มีระเบียบวินัย มีงานและอาชีพ และเป็นพลเมืองที่ดี ทรงเน้นย้ำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ ให้บริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ และสามารถพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่ปี 2552 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้นำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และทรัพย์จากผู้บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชน ผ่านโครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดตั้งเป็น ”มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” หรือ มทส. ปัจจุบันมีนักเรียนทุนพระราชทานรวมทั้งสิ้น 1,228 คน
โครงการจิตอาสา "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" (พ.ศ. 2560-2561)สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานให้จัดโครงการจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารรักษาพระองค์ ข้าราชบริพารในพระองค์ ร่วมกับประชาชนจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อันเป็นการทำความ ดี ด้วยหัวใจ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งได้มีการดำเนินการโครงการเป็นต้นแบบเมื่อวันที่ 21 – 27 มิถุนายน 2560 โดยผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับหมวกแก๊ปและผ้าพันคอประชาชนจิตอาสาพระราชทาน พร้อมด้วยสมุดบันทึกความดี และมีการดำเนินกิจกรรมในทุกจังหวัดทั่วประเทศระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 – 5 ธันวาคม 2561 เรียบเรียงข้อมูลจาก กองข่าว สำนักราชเลขาธิการ https://www.facebook.com/infodivohm/
โครงการในพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำและป่าไม้ (2560)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการแก้ปัญหาแหล่งน้ำให้กับเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง โดยเมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารได้พระราชทานพระราชดำริให้ช่วยเหลือราษฎรตำบลยางหักอำเภอปากท่อจังหวัดราชบุรีที่ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคโดยสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้และยังได้พลิกฟื้นผืนดินที่แห้งแล้งให้มีความอุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชผลไม้นานาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่สมบูรณ์และมีคุณภาพ เป็นการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่สร้างชื่อเสียงให้แก่ชุมชนและจังหวัดในฐานะแหล่งปลูกพืชผักผลไม้คุณภาพดีของจังหวัดราชบุรี
ปัจจุบันทรงรับโครงการต่าง ๆ ไว้เป็นโครงการในพระราชดำริ อาทิ1. การก่อสร้างฝายบ้านเขาแดงพัฒนา จ.จันทบุรี
2. การก่อสร้างฝายทดน้ำคลองไทรนองตอนบน จ.จันทบุรี
3. การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำซำต้มขาวพร้อมท่อส่งน้ำ จ.อุดรธานี
4. การขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยหินพร้อมอาคาร จ.บึงกาฬ
5. การขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองบ่อพร้อมติดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จ.บึงกาฬ
6. การพัฒนาแหล่งน้ำและระบบท่อส่งน้ำบ้านโพนไฮ จ.มุกดาหาร
7. การก่อสร้างฝายห้วยโสกรังพร้อมระบบส่งน้ำและการขุดลอก จ.ขอนแก่น
8. การก่อสร้างฝายน้ำล้นลำห้วยยางบริเวณบ้านนาเมือง จ.อำนาจเจริญ
9. การสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยผาโก้ง จ.เชียงราย
10. การก่อสร้างฝายพร้อมระบบส่งน้ำ จ.พะเยา
11. การก่อสร้างระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่ จ.เพชรบูรณ์
12. การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยเฮี้ย จ.เชียงราย
13. การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยป่าสัก จ.เชียงราย
14. การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ยะพร้อมระบบส่งน้ำ จ.ตาก
15. การก่อสร้างระบบส่งน้ำบริเวณตำบลนิคมพัฒนา จ.สตูล
16. อ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น จ.สกลนคร
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
เศรษฐกิจ (SDG 8, 10)- เพิ่มรายได้และอาชีพให้เกษตรกร ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบบริหารจัดการน้ำ
- ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการช่วยพัฒนาแหล่งทำกิน
สังคม (SDG 1, 2, 6)
- ลดความยากจนด้วยการสร้างแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรกรรม
- ลดความอดอยากเพราะชุมชนสามารถทำการเพาะปลูกได้มากขึ้น
- เพิ่มแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและอุปโภค บริโภค
สิ่งแวดล้อม (SDG 11, 12, 13, 15)
- ช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อนด้วยการบริหารจัดการน้ำช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าสีเขียว
- รักษาทรัพยากรป่าไม้และสมดุลทางธรรมชาติ- สร้างให้เกิดรูปแบบการบริโภคที่ยั่งยืน
- ส่งเสริมให้เกิดชุมชนที่ปลอดภัยและยั่งยืน
วัฒนธรรม (SDG 16)
- ส่งเสริมให้เกิดสำนึกในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม

---------------------------------------------


โครงการในพระราชดำริ

                                                                   @hippo_design

โครงการแก้มลิง #ของพ่อหลวง
แนวคิดของโครงการแก้มลิง เกิดจากการที่พ่อหลวงมีพระราชดำริถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมากๆ จึงมีพระราชกระแสอธิบายว่า “ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง” ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงเกิดเป็นโครงการแก้มลิงขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำ ไว้รอการระบายเพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง


โครงการชั่งหัวมัน #ของพ่อหลวง
ประวัติที่มาของโครงการนี้ …เริ่มตอนที่พ่อหลวงท่านประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล แล้วมีชาวบ้านนำมันเทศมาถวาย ช่วงนั้นท่านต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯ เลยรังสั่งให้เจ้าหน้าที่ “นำหัวมันเทศนั้นไปวางไว้บนตาชั่งในห้องทรงงาน” จากนั้นก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ เวลาล่วงเป็นเดือน เมื่อเสด็จกลับมาหัวหินทรงพบว่ามันเทศนั้นได้แตกใบ เลยตรัสว่า “มัน…อยู่ที่ไหนก็ขึ้น”


@hippo_design

โครงการฝายชะลอน้ำ #ของพ่อหลวง หรือฝายแม้ว
เป็นชื่อเรียกโครงการตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับวิศวกรรมแบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น กิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่พื้นที่รอบ จะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต
โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่นๆ ต่อมา



@hippo_design

โครงการหญ้าแฝก #ของพ่อหลวง

“ทุกคนควรจะได้สนใจสังเกตศึกษาเรื่องราวบุคคล สิ่งต่างๆ ที่แวดล้อมและเกี่ยวข้องกับตัวเองให้มากอย่าละเลยหรือมองข้ามแม้แต่สิ่งเล็กน้อย เช่น ต้นหญ้า ซึ่งถ้าศึกษาพิจารณาให้ดีก็จะก่อให้เกิดปัญญาได้ หญ้านั้นมีทั้งหญ้าที่เป็นวัชพืชซึ่งเป็นโทษ และหญ้าที่มีคุณอย่าง “หญ้าแฝก” ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะมีรากที่หยั่งลึกแผ่กระจายลงไปตรงๆ ทำให้อุ้มน้ำและยึดเหนี่ยวดินได้มั่นคง มีลำต้นชิดติดกันแน่นหนาทำให้ดักตะกอนดิน และรักษาหน้าดินได้ดี” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 24 กรกฎาคม 2540





@hippo_design

โครงการฝนหลวง #ของพ่อหลวง 
ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือย่านบริเวณเทือกเขาภูพานทรงสังเกตว่า…มีปริมาณเมฆมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบินแต่ไม่สามารถรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ ทั้งที่เป็นช่วงฤดูฝน และทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ในระยะวิกฤติของพืชผล ทำให้ผลผลิตต่ำหรืออาจไม่มีผลผลิตเลย ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นและได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ “ฝนหลวง” หรือ “ฝนเทียม” จึงกำเนิดขึ้น
“หลักการแรก คือ ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด (น้ำแข็งแห้ง) เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัว และรวมตัวเป็นเมฆ” …ความคิดเริ่มแรกในการดัดแปรสภาพอาอกศเพื่อให้เกิดฝน

@hippo_design

โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย #ของพ่อหลวง 
คือการทำให้น้ำเจือจางด้วยการใช้หลักการตามธรรมชาติคือแรงโน้มถ่วงของโลก ใช้น้ำคุณภาพดีช่วยผลักน้ำเน่าเสียออกไป และทำให้น้ำเน่าเสียมีสภาพเจือจางลงด้วยการเปิดให้น้ำจากแม่น้ำต่างๆ เข้าไปยังคลองต่างๆ ด้วยการกำหนดวงรอบการไหลของน้ำให้เหมาะสม น้ำดีจะช่วยเจือจางสภาพของน้ำเน่าเสีย และนำพาสิ่งโสโครกให้ออกไปได้
แนวพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวทรงให้ไว้สองแนวทาง แนวทางแรก คือเปิดประตูอาคารควบคุมน้ำรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงจังหวะน้ำขึ้นและระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตอนระยะน้ำลง ซึ่งมีผลทำให้น้ำตามลำคลองมีโอกาสไหลถ่ายเทกันไปมามากขึ้นกว่าเดิม เกิดมีการหมุนเวียนของน้ำที่มีสภาพเน่าเสีย กลิ่นเหม็นกลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพดีขึ้น แนวทางที่สอง ขุดลอกคลองเปรมประชากรพร้อมทั้งกำจัดวัชพืชเพื่อให้เป็นคลอง สายหลักในการผันน้ำคุณภาพดีไปช่วยบรรเทาให้น้ำเสียเจือจางลงและให้คลองเปรมประชากรตอนล่างเป็นคลองที่สามารถรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไป
ช่วยบรรเทาน้ำเสียโดยส่งกระจายไปตามคลองต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร

@hippo_design

โครงการตำรวจจราจรในพระราชดำริ #ของพ่อหลวง
ทรงเป็นห่วงพสกนิกรในเรื่องปัญหาการจราจรจึงพระราชทานแนวทางปฏิบัติให้แก่ตำรวจเพื่อเป็นแนวคิดไปใช้ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน สำหรับเงินทุนดำเนินการ…ได้รับพระราชทานทุนจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ นำไปซื้อรถจักรยานยนต์เป็น “หน่วยเคลื่อนที่เร็ว” และอุปกรณ์ต่างๆ “โดยที่ผ่านมา ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริปฏิบัติหน้าที่และทำการช่วยเหลือ ทั้งทำคลอด
นำหญิงใกล้คลอดส่งโรงพยาบาลกว่า ๖๐ ราย…”

@hippo_design

โครงการพระดาบส #ของพ่อหลวง
“ขณะนี้ยังมีบุคคลอีกจำนวนมาก ที่มีความตั้งใจจริงมีศรัทธาขวนขวายหาความรู้เป็นวิชาชีพใส่ตน แต่ประสบปัญหาไม่มีความรู้พื้นฐาน และไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาวิชาชีพระดับต่างๆ ได้ หากมีช่องทางช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ให้มีความรู้วิชาชีพที่เขาปรารถนา ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้”พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ว่าในยุคสมัยนั้นผู้ที่ต้องการเป็นลูกศิษย์ของพระดาบส จะต้องเป็นผู้ที่มีความตั้งใจศรัทธาอย่างแท้จริง เพราะพระดาบสนั้นท่านจำศีลภาวนาอยู่ในป่าดงพงไพรกันดาร ผู้ที่จะไปหาต้องขึ้นเขาลงห้วยบุกป่า ฝ่าดงด้วยความลำบากแสนเข็ญ เมื่อไปพบพระดาบสจึงเข้าไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ก่อนที่พระดาบสจะรับตัวเข้าเป็นลูกศิษย์ ท่านจะทดสอบความศรัทธา ความอดทนอีกหลายประการ จนเป็นที่แน่ใจว่า ผู้ที่มาสมัครเป็นลูกศิษย์นั้น มีความตั้งใจอยากได้วิชาจริง ท่านจึงรับเข้าไว้เป็นลูกศิษย์ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ตามที่ท่านถนัด โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่ลูกศิษย์นั้นจะต้องปรนนิบัติรับใช้ เช่น หาผลไม้มาให้ขบฉัน ทำความสะอาดอาศรมกุฏิ ฯลฯจนกระทั่งลูกศิษย์นั้นมีความรู้เพียงพอ จึงกราบลาพระอาจารย์กลับบ้านกลับเมือง เพื่อนำความรู้ศิลปศาสตร์ที่พระอาจารย์ถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นต่อไปจึงทรงคิดดำริตั้ง “โครงการพระดาบส”


โครงการบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา #ของพ่อหลวง
พ่อหลวงทรงตระหนักถึงปัญหาภาวะน้ำเน่าเสียจนกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค จึงได้พระราชทานคำแนะนำให้ใช้ผักตบชวากรองน้ำเสีย เพราะผักตบชวามีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นตัวกรองซึ่งเรียกว่า “เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ” คือใช้ผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชที่มีอยู่มาก มาทำหน้าที่ดูดซับความโสโครกและสารพิษจากแหล่งน้ำเน่าเสีย ในเวลาเดียวกันนั้น…ก็ต้องหมั่นนำผักตบชวาออกจากบึงทุกๆ ๑๐ สัปดาห์ เพื่อไม่ให้ผักตบชวามีการเจริญพันธุ์จนบดบังแสงแดดที่จะส่องลงไปในบึง สำหรับผักตบชวาและพืชน้ำอื่นๆ ก็จะกลายเป็นผลพลอยได้ที่นำมาทำเป็นปุ๋ย เชื้อเพลิง และสิ่งของเครื่องใช้ที่สานจากผักตบชวา อีกทั้งยังมีพืชน้ำบางชนิดที่นำมาเป็นอาหารได้ เช่น ผักบุ้ง







โครงการหลวงดอยคำ #ของพ่อหลวง
“ถ้าจะให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น ก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า และมีความเหมาะสมจะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทน”
ราวปีพุทธศักราช 2507 พ่อหลวงทรงใช้เวลาในช่วงฤดูหนาว เสด็จแปรพระราชฐานไปจังหวัดเชียงใหม่ ทอดพระเนตรชีวิตของชาวบ้านบนดอย ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือประกอบอาชีพปลูกข้าวเพื่อบริโภคควบคู่กับการปลูกฝิ่น ซึ่งสร้างปัญหาการทำลายป่าไม้จากการทำไร่เลื่อนลอย และที่สำคัญคือปัญหายาเสพติดที่แพร่หลายจากชุมชนชนบทไปสู่เมือง และกลายเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศในยุคนั้น จึงเป็นที่มาในการริเริ่ม ‘โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา’ ในปี พ.ศ. 2512 โดยทรงมอบหมายให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานอำนวยการ



โครงการหลวงฯ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนถึงปัจจุบัน โดยพืชผักเมืองหนาวที่ทรงส่งเสริมให้ปลูกก็จะมีสตอเบอรี่ ท้อ ลิ้นจี่ แอปเปิ้ล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง ข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศ เป็นต้น หลังจากนั้นชาวไทยภูเขาจึงเริ่มหันมาปลูกพืชทดแทนฝิ่นมากขึ้น จึงทำให้เกิดความต้องการตลาดรับซื้อผลผลิต ผักและผลไม้สดให้ทันเวลาการเก็บเกี่ยว ดังนั้น เพื่อตัดปัญหาการโก่งราคาผลผลิตจากพ่อค้าคนกลาง พ่อหลวงจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์ชาวเขา เพื่อรับซื้อผลผลิตสดจากราษฎรโดยตรง

 ปัจจุบัน โครงการหลวงดอยคำ ประกอบธุรกิจภายใต้ชื่อบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด โดยมีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป 3 แห่ง ก็คือที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่, อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ซึ่งแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้ามากมายหลายชนิด เช่น น้ำผลไม้ แยม ผลไม้อบแห้ง สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป และการที่โรงงานตั้งอยู่ใกล้พื้นที่เพาะปลูกก็จะยิ่งช่วยคงคุณค่าความสดของวัตถุดิบผลไม้ นอกจากจะได้ช่วยฟื้นฟูป่า ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวเขาดีขึ้นแล้ว สินค้าของดอยคำก็ถือว่ามีมาตรฐานสูงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย


โครงการสะพานภูมิพล [ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม] #ของพ่อหลวง
สะพานที่สูงตระหง่านที่ขึงด้วยสายเคเบิ้ลสีเหลืองทองข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ช่วง บริเวณบางโพงพาง และ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ที่มีชื่อว่าสะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2 เป็นหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กรมทางหลวงชนบทสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรเขตอุตสาหกรรมในย่านนี้

ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวต่างก็บอกว่าสะพานแห่งนี้ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสะพานแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงติดตามโครงการนี้ระหว่างการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด และเป็นสะพานเดียวในประเทศที่ชื่อสะพานเป็นพระนามของพระองค์


โครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก #ของพ่อหลวง
ตั้งอยู่บ้านร่องกล้า ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ท่ามกลางภูเขาเขียวขจีและอากาศที่บริสุทธิ์ ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาป่าไม้และเพาะชำกล้าไม้หายาก อันเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการฟื้นฟูสภาพป่า เพาะชำกล้าไม้ และส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับราษฎร พื้นที่ในโครงการมีแนวหินผาเป็นจุดชมวิวถึง 6 จุดสำคัญ ได้แก่ ผาไททานิค ผาพบรัก ผาบอกรัก ผาคู่รัก ผารักยืนยง และสลัดรัก สามารถยืนชมทิวทัศน์ผืนป่าเขียวชอุ่ม ไม่เพียงแค่ทุ่งดอกกระดาษและหน้าผาแห่งรักเท่านั้น ในช่วงฤดูหนาว ที่นี่ยังเป็นจุดชมดอกนางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระเมืองไทยผลิบานอีกหนึ่งจุดอีกด้วย ภายในโครงการไม่มีจุดกางเต็นท์
แต่นักท่องเที่ยวสามารถพักที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร


โครงการน้ำลายเทียม #ของพ่อหลวง
พ่อหลวงทรงมีพระราชดำริจากความสนพระทัยในเรื่องน้ำอยู่เป็นทุนเดิม เพราะพระองค์ทรงใช้น้ำลายเทียม เนื่องจากพระองค์เสวยพระโอสถรักษาโรคหัวใจทำให้น้ำลายแห้ง เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคมะเร็งในช่องปาก โครงการนี้จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อลดการนำเข้าน้ำลายเทียมจากต่างประเทศที่ใช้สารกันบูดและมีราคาแพง จากผลงานวิจัยเป็นที่น่าพอใจมาก ทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพที่ดีทัดเทียมของนำเข้าจากต่างประเทศในราคาต้นทุนเพียง 20 บาทต่อ 1 หลอด

ลักษณะของน้ำลายเทียมในโครงการพระราชดำริจะเป็นวุ้นใสเหมือนเจล ในชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ว่า“วุ้นชุ่มปาก (Oral Moisturizing Jelly)” โดยมีให้เลือกหลายกลิ่น หลายรสชาติ จากกลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วยพบว่า มีความพึงพอใจกับน้ำลายเทียมกลิ่นมินท์มะนาว และกลิ่นสตอเบอร์รี่ สามารถให้ความชุ่มชื้นในปากได้ยาวนานถึง 2 ชั่วโมง 40 นาที


โครงการห่มดิน #ของพ่อหลวง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการดูแลและรักษาดินอีกทางหนึ่ง นั่นคือ “การห่มดิน” เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ทำงานได้ดี อันจะส่งผลให้ดินบริเวณนั้นทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ ทั้งนี้การห่มดินมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีการ เช่น ใช้ฟางและเศษใบไม้มาห่มดินหรือวัสดุอื่นตามที่หาได้ตามสภาพทั่วไปของพื้นที่ การใช้พรมใยปาล์ม (wee drop) ซึ่งทำมาจากปาล์มที่ผ่านการรีดน้ำมันแล้ว เริ่มจากการนำทะลายปาล์มมาตะกุยให้เป็นเส้นๆ ก่อนจะเอาไปอัดให้เป็นแผ่นเป็นผ้าห่มดิน นอกจากประโยชน์ที่กล่าวไปแล้วการห่มดินยังจะช่วยคลุมหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้นรบกวนต้นไม้และพืชหลักอีกด้วย

@hippo_design

โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา #ของพ่อหลวง
ประเทศไทยมีพ่อหลวงเป็นกษัตริย์ผู้มีอัฉริยะ ทรงมีพระราชดำริคิดค้นประดิษฐ์งานต่างๆ ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เพื่อประโยชน์ของปวงประชาราษฎร์ทั้งสิ้น พระองค์มีพระปรีชาสามารถคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมืออุปกรณ์ช่วยในการแก้ปัญหาตลอดเวลา ดังเช่น ปัญหาน้ำเสียในกรุงเทพ แม่น้ำ ลำคลองต่างๆ และทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ พระองค์ทรงแลเห็นปัญหาน้ำเน่าเสียมากขึ้นทุกวันและเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตของประชาชนต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงได้คิดค้นกังหันน้ำ หรือกังหันชัยพัฒนา

กังหันชัยพัฒนา...เป็นกังหันน้ำเพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการหมุนปั่นเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชน สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสีย จากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจนให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร







โครงการพระราชดำริ สะพานพระราม8 #ของพ่อหลวง
โครงการสะพานพระราม 8 หนึ่งในโครงการจตุรทิศ ที่พ่อหลวงได้พระราชทานพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครพิจารณาก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เมื่อปี 2538 ณ บริเวณโรงงานสุราบางยี่ขันบรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ใกล้ธนาคารแห่งประเทศไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “โครงการสะพานพระราม 8” เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8” ด้วยทรงตระหนักถึงความคับคั่งของการจราจรบนสะพาน
สมเด็จพระปิ่นเกล้าที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ ระหว่างพื้นที่ฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีที่ยังขาดการเชื่อมต่อที่เพียงพอทำให้เกิดการคับคั่งของการจราจร บริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ชั้นใน บริเวณถนนราชดำเนินราชดำเนินกลาง ซึ่งต่อกับฝั่งธนบุรีโดยผ่านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งเป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งของฝั่งธนบุรีที่มีปริมาณการจราจรคับคั่งให้สามารถคลี่คลายลงได้


@hippo_design

โครงการดอยอ่างขาง #ของพ่อหลวง
ครั้งหนึ่งพ่อหลวงเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้ และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ได้ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” และต่อมา ก็ได้ทรงพระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

“สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง” เป็นโครงการหลวงแห่งแรกของเมืองไทย ซึ่งเป็นสถานที่ทดลอง ค้นคว้า และวิจัยพืชผัก ผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ชาวไทยภูเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพแทนการปลูกฝิ่น ที่จะทำให้ชาวไทยภูเขามีรายได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามแนวพระราชดำริที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” ปัจจุบันโครงการหลวงอ่างขางมีไม้ผลเมืองหนาวกว่า 10 ชนิด อาทิ ท้อ บ๊วย สตรอเบอร์รี่ สาลี่ พลับ กีวี เป็นต้น ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ และไม้ดอกเมืองหนาวอีกมากมาย เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ เบญจมาศ และได้มีการพัฒนาให้ดอยอ่างขางกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งให้แก่ชาวไทยภูเขารอบๆ สถานีฯ

* "อ่างขาง" ภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อย ๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

@hippo_design

โครงการเจลลี่โภชนา #ของพ่อหลวง
“จำไว้นะ เวลาทำอาหารให้คนป่วย เรื่องรสชาติเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเขาป่วยด้านร่างกายแล้ว จิตใจต้องดี ถ้าเราทำอาหารที่ไม่อร่อยไปให้ จิตใจเขาจะแย่ มันเป็นการซ้ำเติมผู้ป่วย” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชทานข้อคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ในช่องปาก

เจลลี่โภชนามีลักษณะนุ่มลื่น ผู้ป่วยสามารถเคี้ยวกลืนได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ และยังมีสารอาหารครบถ้วน มีคุณค่าโภชนาการที่เหมาะสม โดยสัดส่วนของพลังงานที่ได้มีทั้งจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน นอกจากนี้ยังมีโปรตีนที่มีคุณภาพดี มีอายุการเก็บรักษายาวนานถึง 1 ปี อีกทั้งยังมีรสชาติที่หลากหลายถึง 9 รสชาติ ทั้งในรูปแบบอาหารคาวและหวาน เช่น ต้มยำกุ้ง, แกงเขียวหวาน, ข้าวหอมมะลิ, ข้าวมันไก่, มะม่วง, ชานม และลิ้นจี่ แต่รสชาติที่จะถูกนำไปผลิตเพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ป่วยนั้นมีเพียง 2 รสชาติ คือ รสมะม่วงและรสชานม

นอกจากนั้นพระองค์ก็ตรัสในเรื่องบรรจุภัณฑ์ว่า กล่องที่นำมาให้ทอดพระเนตรนั้นมีลักษณะคล้ายกล่องนม ถ้าในอนาคตมีการนำไปจำหน่ายในศูนย์การค้าหรือซูเปอร์มาร์เกต คนซื้อก็จะต้องเขย่าซึ่งทำให้เจลแตกแล้วไม่มีใครอยากกิน พระองค์ทรงถามว่า
“ใส่กระป๋องได้ไหม” เราก็ทูลว่าผลิตภัณฑ์นี้ใส่กระป๋องไม่ได้ พระองค์จึงได้พระราชทานคำแนะนำว่า “เอาอย่างนี้สิ ทำฉลากเป็นแนวนอน พอกล่องเป็นแนวนอนคนก็จะไม่เขย่า” เราก็ได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระองค์มาปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ใหม่

@hippo_design

โครงการครูตู้ #ของพ่อหลวง
ครูตู้ ครูพระราชทานโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ที่ดำเนินงานมาแล้ว 20 ปี กับการถ่ายทอดการเรียนการสอนจากโรงเรียนวังไกลกังวลให้แก่เด็กนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล ขาดแคลนครู ผ่านหน้าจอโทรทัศน์

การศึกษาคือรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่ต้องยอมรับว่าจนถึงปัจจุบันนี้มีเด็กนักเรียนในพื้นที่ชนบทห่างไกลหลายแห่งของประเทศไทย ยังไร้ซึ่งโอกาสเข้าถึงการศึกษา แต่ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพ่อหลวง จึงมีพระราชดำริและพระราชทานทุนประเดิมจำนวน 50 ล้านบาท นำมาก่อตั้งมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมขึ้น เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กในพื้นที่ห่างไกล และขาดแคลนครูได้เข้าถึงการเรียนภาคพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกับเด็กในเมือง นำมาซึ่งคำที่เด็กๆ เรียกกันสั้นๆ ว่า "ครูตู้"


โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน #ของพ่อหลวง
โครงการพระราชดำริโครงการนี้เกิดขี้นใน พ.ศ. ๒๕๑๐ พ่อหลวงเสด็จแปรพระราชฐานประทับแรมในท้องถิ่นต่างๆ ที่ห่างไกลตัวเมืองมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนยารักษาโรค ออกทำการตรวจรักษาราษฎรโดยไม่คิดมูลค่าในท้องถิ่นกันดารในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์


โครงการปลาร้องไห้ #ของพ่อหลวง
ตั้งแต่พระองค์เสด็จเยี่ยมประชาชนในเขตพื้นที่พัฒนาพรุแฆแฆ จ.ปัตตานี มีราษฎรชื่อนายอูเซ็งเฝ้ารับเสด็จอยู่ด้วย เมื่อพระองค์เสด็จผ่านจุดที่นายอูเซ็งรอรับเสด็จอยู่นั้น นายอูเซ็งได้ถวายภาพถ่าย 1 ชุด เป็นภาพถ่ายของปลากะพง ปลาที่เลี้ยงในกระชังเกือบทั้งหมดตายลอยแพเป็นพันเป็นหมื่นตัว สาเหตุที่ปลาตายเนื่องจากการปล่อยน้ำเปรี้ยวจากพรูพาเจาะ ผ่านจุดที่เลี้ยงปลากะพงในกระชัง ทำให้ปลากะพงที่เลี้ยงในกระชังขาดอ๊อกซีเจนตายจำนวนมาก นายอูเซ็งจึงได้ขอความช่วยเหลือแก้ไข แต่ขณะที่กำลังกราบทูลพระองค์ท่าน นายอูเซ็งร้องไห้ไปด้วย (ร้องไห้เสียงดังเหมือนเด็ก) ด้วยพระอารมณ์ขันของพระองค์ท่าน ได้ตรัสด้วยประโยคสั้นๆ ว่า "ปลาร้องไห้ จะต้องหาทางแก้ไข"

ต่อจากนั้นพระองค์ทรงศึกษาหาวิธีการที่จะป้องกันมิให้ปล่อยน้ำเปรี้ยวจากพรุบาเจาะลงสู่แม่น้ำสายนี้อีก และได้ได้พระราชทานพันธุ์ปลากะพงขนาด 1 นิ้ว 1,000 ตัว ค่าอาหารปลา และซื้ออวนมาให้ทำกระชังพร้อมกับก่อตั้งโครงการเลี้ยงปลาในกระชัง (ปลาร้องไห้) อันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างถาวรในหมู่บ้านปาตาติมอ หลังจากในบริเวณนั้นสามารถเลี้ยงปลาได้แล้ว พระราชินีทรงตรัสว่า “เดี๋ยวนี้ปลาหัวเราะแล้วนะ ไม่ร้องไห้แล้ว”


โครงการยึกยือ #ของพ่อหลวง
ลุ่มน้ำก่ำเป็นลุ่มน้ำสาขาหนึ่งของลุ่มน้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขง ลุ่มน้ำก่ำมีต้นกำเนิดจากเขตป่าสงวนแห่งชาติภูพาน ส่วนใหญ่จะไหลลงตรงสู่แม่น้ำโขงเลย จึงก่อให้เกิดอุทกภัย ส่วนในฤดูแล้งเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร รวมทั้งน้ำอุปโภค-บริโภค

ครั้งหนึ่ง...พ่อหลวงเสด็จฯแปรพระราชฐานในสกลนคร ระหว่างบินมหาดเล็กมาตามตัวไปเฝ้า เมื่อเข้าเฝ้าฯพระองค์ประทับเสวยพระกระยาหารว่างอยู่ก็รับสั่งเรื่องน้ำก่ำ อยากจะให้ทดลองกั้นลำน้ำก่ำเป็นช่วงๆ ยามหน้าน้ำจะได้ปิดกันน้ำไว้ให้ราษฎรได้ใช้ ไม่ต้องให้ไหลลงแม่น้ำโขงอย่างเปล่าประโยชน์ระหว่างรับสั่งก็ทรงหยิบเศษกระดาษมาแผ่นหนึ่ง ทรงวาดเค้าโครงร่างๆ ออกมาเป็นลำน้ำก่ำคดเคี้ยวหยักไปตามสภาพจริงและขีดเส้นกั้นเป็นระยะๆ เมื่อทรงวาดเสร็จ พระราชทานพระราชดำริเสด็จก็ทอดพระเนตรรูปนั้น ซึ่งมีลักษณะเหมือนตัวหนอนตัวบุ้งอะไรทำนองนั้น เลยรับสั่งว่าเหมือน ยึกยือนะ ก็เลยเป็นชื่อเล่นสำหรับโครงการนั้นไปว่า โครงการยึกยือ พวกเราก็เข้าใจว่าเป็นน้ำก่ำ

@hippo_design



โครงการธนาคารโค-กระบือ #ของพ่อหลวง
"...ธนาคารโคและกระบือ ก็คือการรวบรวมโคและกระบือ โดยมีบัญชีควบคุมดูแลรักษาแจกจ่ายให้ยืมเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตร และเพิ่มปริมาณโคและกระบือ ตามหลักการของธนาคารโคและกระบือเป็นเรื่องใหม่ของโลกที่มีความจำเป็นเกิดขึ้น เพราะปัจจุบันมีความคิดแต่จะใช้เครื่องกลไกเป็นเครื่องทุ่นแรงในกิจการเกษตร แต่เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้น ความก้าวหน้าในการใช้เครื่องกลไกเสียไป จำเป็นต้องหันมาพึ่งแรงงานจากสัตว์ที่เคยใช้อยู่ก่อน เมื่อหันกลับมาเป็นปรากฎว่ามีปัญหามากเพราะชาวนาไม่มี

งินซื้อโค กระบือมาเลี้ยงเพื่อใช้แรงงาน..."

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ณ บริเวณโครงการส่วนประองค์สวนจิตรลดา

๑๔ พฤษภาคม ๒๕๒๓



โครงการเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข #ของพ่อหลวง
เศรษฐกิจพอเพียงนั้นมุ่งเน้นให้เราอยู่อย่างมีความสุข มิใช่การกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร จนไม่มีความสุขในชีวิต แต่ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง ไม่ประมาท โดยที่จะต้องคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้รวมกันเป็นหลักที่ปฏิบัติได้

3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย

ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่างความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิ
เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิ



โครงการเส้นทางเกลือ #ของพ่อหลวง
ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ของพ่อหลวงและสมเด็จพระเทพ ทรงพบว่าท้องที่ทุรดันดารนั้น ผู้คนจำนวนมากมีปัญหาการขาดสารไอโอดีนจนเกิดเป็นโรคคอพอก ทรงพระเมตตาและสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนเป็นอย่างมาก เคยทรงนำเกลือผสมไอโอดีนขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปทรงแจกประชาชนในถิ่นทุรกันดารมาแล้วหลายครั้ง

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2536 พ่อหลวงพระร
าชดำเนินไปเยี่ยมชมกิจกรรมของวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ได้ทอดพระเนตรการสาธิตการทำงานของเครื่องผสมเกลือไอโอดีน ทางวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ได้ผลิตขึ้นและน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพ เพื่อพระราชทานให้แก่จังหวัดต่างๆ ที่ราษฎรประสบปัญหาของการขาดสารไอโอดีน

พ่อหลวงได้พระราชทานพระราชดำริว่า
“…ให้พิจารณาแก้ไขปัญหาของการขาดสารไอโอดีนของราษฎร โดยการสำรวจพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ถึงปัญหาและความต้องการเกลือ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นที่จะมีปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกันโดยเฉพาะต้องสำรวจเส้นทางเกลือ ว่าผลิตจากแหล่งใด ก็น่าที่จะนำเอาไอโอดีนไปผสมกับแหล่งผลิตต้นทางเกลือเสียเลยทีเดียว..."






โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้ #ของพ่อหลวง
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2522 เนื่องจากมีราษฎรจำนวนมากที่เจ็บป่วยด้วยโรคหู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้ พ่อหลวงจึงโปรดเกล้าฯให้จัดหน่วยแพทย์อาสาสมัครผลัดกันออกไปปฏิบัติหน้าที่ประจำโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่เสด็จแปรพระราชฐาน โดยอาศัยแพทย์จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
รามาธิบดี ราชวิถี โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครราชสีมา และโรงพยาบาลประจำจังหวัดนครพนม ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติราชการชุดละ 2 สัปดาห์เริ่มที่จังหวัดนราธิวาสก่อน ต่อมาขยายการปฏิบัติงานไปที่จังหวัดสกลนคร และที่โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่



โครงการหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน #ของพ่อหลวง
ในปี ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีพระราชปรารภว่า...
"เวลาเรามีปัญหาเกี่ยวกับฟันก็มีทันตแพทย์ดูแลรักษา แล้วเวลาราษฎรที่อยู่ห่างไกล จะมีทันตแพทย์ช่วยรักษาหรือเปล่า" 

ในเวลาต่อมา ทรงทราบว่าทันตแพทย์นั้นมีน้อยและมีอยู่ตามโรงพยาบาลประจำจังหวัดเท่านั้น บางจังหวัดก็ไม่มี พระองค์ทรงรับสั่งว่า...
"โรคฟันเป็นโรคของทุกคน การที่จะให้ราษฎรที่ยากจนที่มีปัญหาเรื่องฟัน หยุดการทำนาทำไร่เดินทางไปหาแพทย์นั้นเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง ในทางตรงกันข้ามหากเป็นการให้บริการเคลื่อนที่ไปสู่ประชาชน ก็จะเป็นการแก้ปัญหาได้ทางหนึ่ง"

จากนั้นจึงทรงตรัสแก่ทันตแพทย์สีสิริสิงห์ทันตแพทย์ประจำพระองค์ว่า
"ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแลบำบัดทุกข์ให้แก่นักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นกันดารห่างไกลหมอ และจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดตามความจำเป็นโดยให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปโดยรถยนต์ และตระเวนไปตามถนนหนทางตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชนบท"

โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ #ของพ่อหลวง
หรือเรียกอีกชื่อว่า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลาก และขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี พ่อหลวงจึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งบริเว
ณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ทำพิธีปฐมฤกษ์กักเก็บน้ำเขื่อนในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 โดยสมเด็จพระเทพเสด็จมาเป็นองค์ประธาน และในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 พ่อหลวงพระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภา




โครงการศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ #ของพ่อหลวง
“งานนี้เป็นประโยชน์ถึงประชาชนอย่างแท้จริงให้ขยายงานไปให้มากและหาคนให้มาช่วยงานเพิ่มขึ้น” พระราชกระแสรับสั่งนี้ พระราชทานหลังจากที่ได้เริ่มงานครั้งแรกโดยรับพระราชทาน พระราชทานทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่อทดลองขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล และได้เริ่มทำแปลงสาธิตในหมู่บ้าน ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแห
วน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาได้ตั้งเป็นโครงการชื่อโครงการว่า “โครงการศูนย์ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล งานสาธิตฝึกอบรม และส่งเสริมอาชีพราษฎรตามพระราชดำริ”

โครงการศูนย์บริการฯ (บ้านไร่) ได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นเมือง เช่น พืชกลุ่มกระเจียว ว่
านสี่ทิศ หน้าวัว และกล้วยไม้ไทย เป็นต้น ตลอดจนทำการศึกษาวิจัยพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม ให้ความร่วมมือในการพัฒนาการผลิต ขยายพันธุ์ไม้ดอก และส่งเสริมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นเมือง โดยเฉพาะพืชกลุ่มกระเจียว ให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้น






โครงการไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์ #ของพ่อหลวง
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมแอลกอฮอล์และน้ำมันเบนซิน โครงการแก๊สโซฮอล์นั้นเกิดขึ้นในปี 2528 เนื่องจากพ่อหลวงได้ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทย อาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน และปัญหาพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดําริให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาศึกษา ถึงการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ (เอทานอล) ใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และได้ทดลองใช้กับรถยนต์ในโครงการส่วนพระองค์ตั้งแต่ปี 2537 โดยทดสอบกับเครื่องยนต์ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ได้ผลดีทั้งในห้องปฏิบัติการและท้องถนน

หลังจากนั้นบริษัท บางจากฯ (มหาชน) ได้น้อมรับแนวพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาสานต่อให้เกิดเป็นรูปธรรมในวงกว้าง ได้ผลิตและจําหน่ายแก๊สโซฮอล์ 95 ที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก แก๊สโซฮอล์ 95 มีส่วนผสมของน้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ดังนั้นนอกจากจะคุณสมบัติการใช้งานเทียบเท่าน้ำมันเบนซิน 95 ทั่วไป แต่มีราคาถูกกว่า 50 สตางค์ต่อลิตรแล้ว ยังเป็นพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อชาติอีกด้วย






โครงการอุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ #ของพ่อหลวง
อันเนื่องมาจากพระราชดำริของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนนั้น มีความพิเศษน่าสนใจมากเพราะเป็นการบริหารจัดการน้ำจากพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำมากไปยังพื้นที่ขาดแคลนน้ำ อุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ฯ สร้างครอบคลุมพื้นที่รอยต่อ 2 จังหวัด โดยทำการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร มาส่งให้กับพื้นที่การเกษตรลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนใน อ.เขาวง จ.กาฬสิน
ธุ์ มีการเจาะอุโมงค์ผันน้ำลอดใต้เขาภูบักดีแล้วทำท่อ(เหล็ก)ลอดใต้อุโมงค์ส่งน้ำจากมุกดาหารเข้ามายังกาฬสินธุ์ โดยมีการทำถังพักน้ำทำระบบท่อชลประทาน ที่ยังประโยชน์ครอบคลุมพื้นที่มากถึงประมาณ 12,000 ไร่ และทำให้ผลผลิตทางการปลูกข้าวของชาวนาเพิ่มมากขึ้นถึง 2-3 เท่า

นับเป็นความสำเร็จจากอุโมงค์ผันน้ำหนึ่งเดียวในเมืองไทยใต้พระบารมี ที่มาจากพระอัจฉริยะภาพของพ่อหลวงในด้านบริหารจัดการน้ำ อันสอดรับกับคำว่า “ลำพะยังภูมิพัฒน์” ซึ่งหมายถึง “อุโมงค์ผันน้ำที่นำความเจริญมาสู่แผ่นดินลุ่มน้ำลำพะย้ง”


@hippo_design


โครงการศูนย์รวมน้ำนมภูพาน จังหวัดสกลนคร #ของพ่อหลวง
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 พ่อหลวงพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร และได้พระราชทานพระราชดำริ สรุปได้ว่า “ ให้สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนครร่วมกับปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร และจังหวัดสกลนคร พิจารณาจัดทำโครงการนมพาสเจอร์ไรส์ ในลักษณะเป็น Pilot Project ให้เริ่มดำเนินการโดยใช้เครื่องมือขนาดเล็กไปก่อน เพื่อเป็นการทดสอบและวิจัยการแปรสภาพนมสด ตลอดจนการตรวจสอบคุณภาพน้ำนม ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ผลดีและได้รับความสนใจจากผู้บริโภค รวมทั้งราษฎรในพื้นที่ให้การสนับสนุนมากขึ้น และถ้าหากมีปริมาณนมสดเหลือมากพอก็อาจแปรสภาพเป็นนมผงได้ ”

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2532 พ่อหลวงเสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ในการนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานพัฒนาในด้านต่างๆ “ ในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์รวมน้ำนมภูพานฯ นี้ ก็เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้แก่เกษตรกร และนำน้ำนมดิบมาทำเป็นนมสดพาสเจอร์ไรท์โดยดำเนินการเป็นขนาดเล็ก เพื่อเป็นการสาธิตเป็นตัวอย่างให้แก่ราษฎร ไม่ได้ต้องการให้ดำเนินกิจการค้าขนาดใหญ่ ขยายการผลิตน้ำนมไปเรื่อยๆ แม้จะประสบปัญหาการขาดทุน กำไรไปบ้าง ก็จะให้การสนับสนุนในระยะแรกนี้ต่อไป”



@hippo_design



โครงการธนาคารข้าว #ของพ่อหลวง
"...โครงการที่ได้ปฏิบัติมาจนถึงเดี๋ยวนี้ก็ได้ใช้ข้าวเป็นจำนวนมากสำหรับส่งไปสงเคราะห์ในบริเวณชายแดน โดยอาศัยการส่งไปให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อที่จะได้แจกจ่ายแก่ผู้ที่ขาดแคลน นอกจากนี้ก็ได้ปฏิบัติอีกวิธีหนึ่งคือนอกจากจะไปแจกแก่ผู้ที่ขาดแคลนยังได้ไปตั้งเป็นคลังเป็นฉางข้าวในบางแห่งที่มีความขาดแคลนข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปีที่แล้วก็มีความเดือดร้อนเพราะว่ามีการขาดน้ำ ทำให้ข้าวไม่ด้ผลเพียงพอจึงได้ให้ข้าวจำนวนหนึ่งแก่หมู่บ้านและตั้งเป็นฉางข้าว กล่าวคือให้ข้าวไว้ และก็ถ้าต่อมาเขามีรายได้เพิ่มขึ้นหรือปลูกข้าวได้ก็เอามาคืนโดยมีดอกเบี้ยเพิ่มเติมเข้ามา ข้าวที่ให้ไปจึงเป็นข้าวที่หมุนเวียนและทำให้ประชาชนสามารถที่จะเข้าใจถึงการประหยัดถึงวิธีที่จะร่วมมือกัน มีชีวิตเป็นกลุ่ม..."

พระราชดำรัสของพ่อหลวง พระราชทานแก่คณะกรรมการสโมสรไลออนส์ดุสิตกรุงเทพ และบริษัทศรีกรุงวัฒนา จำกัด ณ พระตำหนักจิตรลดา 20
มิถุนายน 2511




โครงการผันน้ำเข้าที่ส่วนพระองค์ บริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา#ของพ่อหลวง
ทุ่งมะขามหย่อง สมรภูมิรบสำคัญในสมัยอยุธยา ที่ถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์ ถึงการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของวีรสตรีไทย"สมเด็จพระศรีสุริโยทัย" ที่ ทรงสละชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในการรบกับพม่าเมื่อปี พ.ศ.2091 ตั้งอยู่ในตำบลภูเขาทอง อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กินพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ มีพระราชานุสาวรีย์ช้างทรงของสมเด็จพระสุริโยทัย และนักรบจาตุรงคบาท ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำ ซึ่งอนุสรณ์สถานแห่งนี้ถูกจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2534 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติให้กับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวาระมหามงคลพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ.2535 ด้วย สถานที่แห่งนี้จึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย"

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ดินส่วนพระองค์ ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวตามแนวพระราชดำริ เป็นพื้นที่แก้มลิง เพื่อรองรับและป้องกันน้ำท่วมอีกทางหนึ่งด้วย

และเมื่อใน พ.ศ.2549 เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักน้ำท่วมขังในหลายจังหวัด ก็ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผันน้ำเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งเป็นที่ดินส่วนพระองค์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร

โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ #ของพ่อหลวง
ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน และการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะในเขตที่ใช้น้ำฝนทำนาเป็นหลัก เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูงเป็นเหตุให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับต่ำไม่เพียงพอต่อการบริโภค ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหา จึงได้พระราชทาน "ทฤษฎีใหม่" ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ประมาณ ๑๕ ไร่ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาอย่างเ
หมาะสม ด้วยการจัดสรรการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยให้มีการจัดสร้างแหล่งน้ำในที่ดินสำหรับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ให้มีรายได้ใว้ใช้จ่ายและมีอาหารใว้บริโภคตลอดปี ซึ่งได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพื่อการผลิตทางเกษตรกรรมที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า "…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…"

การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน : ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ หมายถึง
พื้นที่ส่วนที่ 1 ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ
พื้นที่ส่วนที่ 2 ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
พื้นที่ส่วนที่ 3 ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำ
วัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่า
พื้นที่ส่วนที่ 4 ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่น ๆ


โครงการศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี #ของพ่อหลวง
พ่อหลวงทรงมีพระราชดำริว่าในอนาคต จะมีการขยายการทำสวนผลไม้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก ถึงแม้ว่าจังหวัดจันทบุรีจะมีปริมาณฝนมาก จำนวนวันที่ฝนตกกว่าครึ่งปีจนเกิดน้ำไหลหลากท่วมจังหวัดจันทบุรีเป็นประจำ แต่ฤดูแล้งจะขาดน้ำ พระองค์ทรงวางแนวทางการช่วยเหลือราษฎรโดยการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กเป็นระยะๆ ในลำธาร ลำคลองตามร่องเนินในรูปอ่างพลวง เพื่อกักเก็บน้ำ
ไว้ใช้ในการเกษตร ลดปริมาณน้ำในแม่น้ำจันทบุรี และป้องกันน้ำท่วม ในอนาคต ท่านทรงมีพระราชกระแสให้คณะทำงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ สำรวจพื้นที่และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินสวนผลไม้ซึ่งมีลำคลองพาดผ่านพื้นที่ในอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จำนวน 109 ไร่ เพื่อดำเนินการตามโครงการ



โครงการมูลนิธิสายใจไทย #ของพ่อหลวง
ก่อตั้งขึ้นตามพระราชปณิธานของพ่อหลวง ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ของราษฎรผู้เสียสละชีพเพื่อป้องกันประเทศชาติ ผู้ต้องบาดเจ็บ ทุพพลภาพ

จนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ดังเดิม พระองค์ได้มีพระราชปรารภถึงระเบียบวิธีการช่วยเหลือผู้สละชีพเพื่อชาติว่านอกเหนือจากเงินช่วยเหลือจากหน่วยราชการ ซึ่งในขณะนั้นต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาเป็นเวลานานแล้ว ยังเป็นจำนวนเงินไม่มากนักอีกทั้งอาสาสมัครที่บาดเจ็บทุพพลภาพหรือเสียชีวิต จะไม่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือเช่นเพื่อนทหารและตำรวจร่วมสมรภูมิ

วันสายใจไทยก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๘ อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพ และพ่อหลวงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประธานมูลนิธิ เนื่องจากทรงตระหนักดีว่าสมเด็จพระเทพทรงเป็นผู้มีพระทัยอ่อนโยน มีพระเมตตาเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของผู้อื่นอยู่เสมอ


โครงการอ่าวคุ้งกระเบน #ของพ่อหลวง
พ่อหลวงทรงห่วงใยราษฎรที่ประสบปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่เพาะปลูกทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ทำให้ผลผลิตด้านการเกษตรและประมงลดต่ำลง จึงมีพระราชดำริที่จะทำการศึกษาพัฒนาพื้นที่ในเขตที่ดินชายทะเล เพื่อแนะนำให้ประชาชนได้มีความรู้ความสำคัญของการใช้ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม จึงพระราชทานพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2524 ดังนี้

“ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาอาชีพการประมง และการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี


โครงการคลองลัดโพธิ์ #ของพ่อหลวง
คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร เดิมที่มีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้จัดสร้างเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลักการ "เบี่ยงน้ำ" (Diversion) ภายใต้การดูแลของหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานคือ กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) มีหลักการคือ จากสภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมที่มีลักษณะไหลวนคดเคี้ยวบริเวณรอบพื้นที่บริเวณบางกระเจ้านั้นมีความยาวถึง 18 กิโลเมตร นั้นทำให้การระบายน้ำที่ท่วมพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นไปได้ช้า ไม่ทันเวลาน้ำทะเลหนุน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯจึงมีพระราชดำริให้พัฒนาใช้คลองลัดโพธิ์ ซึ่งเดิมมีความตื้นเขินมีความยาวราว 600 เมตร ให้ใช้ระบายน้ำที่หลากและน้ำที่ท่วมทางสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลทันทีในช่วงก่อนที่น้ำทะเลหนุน และปิดคลองลัดโพธิ์เมื่อน้ำทะเลหนุน เพื่อหน่วงน้ำทะเลไม่ให้ขึ้นลัดเลาะไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่คดโค้งถึง 18 กิโลเมตรก่อนซึ่งใช้เวลามากจนถึงเวลาน้ำลง
ทำให้ไม่สามารถขึ้นไปท่วมตัวเมืองได้

พ่อหลวงทรงมีกระแสร์พระราชดำรัสถึง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ว่าเป็นสถานที่ตัวอย่างของการบริหารจัดการน้ำ ที่ต้องการความรู้เรื่องเกี่ยวกับเวลาน้ำขึ้นน้ำลง หากบริหารจัดการให้ถูกต้องจะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ และทรงเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปทรงเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ และทรงเปิดสะพานภูมิพล 1 ภูมิพล 2 ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท#ของพ่อหลวง
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 หลังจากที่เปิดโครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์ใน พ.ศ. 2517 แพทย์ที่อาสาสมัครซึ่งเป็นแพทย์อาวุโสและมีประสบการณ์มาก เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีศัลยแพทย์อาสาไปช่วยปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดสกลนคร ในช่วงที่พ่อหลวงเสด็จฯแปรพระราชฐาน ประทับที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จึงได้มีการศึกษาหาข้อมูล และความต้องการของโรงพยาบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ในด้านศัลยกรรม และรวบรวมจัดทำทำเนียบศัลยแพทย์อาสา แล้วก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์ขึ้น โดยในภายหลังทรงรับวิทยาลัยศัลยแพทย์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์และเปลี่ยนชื่อเป็นราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย



@hippo_design




โครงการทางยกระดับลอยฟ้าบรมราชชนนี #ของพ่อหลวง
พ่อหลวงทรงห่วงใยบัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ และได้พระราชทานพระราชดำริในแนวทางตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหาที่ได้ผลสำเร็จมาแล้วอย่างต่อเนื่อง " โครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้า " เป็นอีกหนึ่งโครงการพระราชดำริที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณที่ทรงมองการณ์ไกลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจรและน้ำพระทัยอันเปี่ยมล้น ด้วยพระเมตตากรุณาที่ทรงมีต่อพสกนิกร เมื่อครั้งที่พ่อหลวงเ
ยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่โรงพยาบาลศิริราชช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๓๘ ได้ทอดพระเนตรเห็นปัญหาการจราจรที่ติดขัดเป็นอย่างมากที่บริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อเนื่องไปจนถึงถนนบรมราชชนนี จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าจากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าไปยังบริเวณสถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่ อีกทั้งยังทรงมีพระราชดำรัสเพิ่มเติมถึงการจราจรขาออกนอกเมืองตอนหนึ่งว่า "หากสร้างสะพานยกระดับขาออกให้ยาวเลยไปจากขนส่งสายใต้ จะมีประโยชน์มาก"


โครงการศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม #ของพ่อหลวง
พ่อหลวงได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2529 ได้มีพระราชดำริกับ นายสนาน ริมวานิช อธิบดีกรมพัฒนาที่ดินสรุปได้ดังนี้ ให้ดำเนินการศึกษาหาวิธีการปรับปรุงดินที่เสื่อมโทรม ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ทดสอบวางแผนและจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่


@hippo_design


โครงการรอยเบื้องพระยุคลบาท 84 พรรษา [สวนของพ่อ] จังหวัดสระแก้ว #ของพ่อหลวง
พ่อหลวงทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาตามแนวเทือกเขาบรรทัด โดยทรงพระราชทานแนวทางพัฒนา 3 ด้าน คือ พัฒนาด้านที่อยู่อาศัย พัฒนาด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพ และพัฒนาจิตใจของราษฏร และทรงโปรดเกล้าให้ ม.จ. จักรพันธุ์ เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องค์มนตรีประสานงานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงทบวงกรมต่า
งๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตามพระราชดำริ ดำเนินการวางโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีน จังหวัดสระแก้ว ตามพระราชดำริขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา และดำเนินการแบ่งพื้นที่ราบเชิงเขาบรรทัด และต่อมาในปี พ.ศ. 2522 คณะกรรมการโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา มีมติให้ขยายพื้นที่พัฒนาออกไปอีก



โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ #ของพ่อหลวง
เมื่อ พ.ศ. 2525 พ่อหลวงมีพระราชดำริให้ทดลองปลูกผลไม้เมืองหนาว เพื่อสาธิตและเผยแพร่แก่เกษตรกรที่หลักกิโลเมตรที่ 2 ถนนด่านซ้าย บ้านเดิ่น ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในที่ดินจำนวน 39 ไร่ ซึ่งกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ จังหวัดชลบุรี ได้เข้าไปดำเนินการเพื่อสนองพระราชดำริ โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาการเกษตรตามพระราชดำริ" ต่อมาพ่อหลวงทรงเห็นว่า บริเวณข้างเคียงเป็นที่ดินสาธารณะสำหรับเลี้ยงสัตว์ที่อำเภอด่านซ้ายสงวนไว้ จำนวนประมาณ 1,200 ไร่ จึงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กรมปศุสัตว์เข้าไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์สาธิตด้านปศุสัตว์ และพระราชทานเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น "โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

และเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2553 สมเด็จพระเทพ พระราชทานพระราชดำริ ให้ศูนย์ผลิตพันธุ์สัตว์ที่จำเป็น และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และขยายพันธุ์สัตว์ ไปยังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ขาดแคลน รวมทั้งให้กับราษฎรที่ยากจนในเขตพื้นที่ต่างๆ

ผลการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมงานด้านปศุสัตว์ในระยะเริ่มต้น อาทิ การสร้างพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ไทย ผลิตไก่ไข่สาวเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงมอบให้แก่โรงเรียนและเกษตรกรยากจนในจังหวัดเลย ศึกษาวิจัยพันธุ์ไก่ไข่ไทยที่มีความเหมาะสมต่อการเลี้ยงในท้องถิ่นทุรกันดาร ศึกษาวิจัยและผลิตอาหารสัตว์ที่เหมาะสมกับไก่ไข่ไทย ตลอดจนการก่อสร้างและปรับปรุง/ซ่อมแซมโรงเรือน ทำให้เกษตรกร ผู้ปกครอง และนักเรียนในพื้นที่ทุรกันดารสามารถพึ่งตนเองด้วยการมีแหล่งอาหารโปรตีนไว้บริโภคเองได้ สามารถเลี้ยงและผลิตพันธุ์สัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่ไข่ไทยที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับพื้นที่ทุรกันดารเพื่อกระจายสู่เกษตรกรยากจน และโรงเรียนในท้องที่ห่างไกล และ สามารถมีสูตรอาหารสัตว์ที่สามารถผลิตใช้เองได้โดยเกษตรกรและโรงเรียนในท้องที่ทุรกันดาร


โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง #ของพ่อหลวง
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2536 พ่อหลวงและพระราชินี มีพระราชดำริที่จะพระราชทานป่าไม้ให้กับปวงชนชาวไทย เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงครองราชย์ได้ 50 ปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาดินเสื่อมโทรม เพราะเกิดจากทำการปลูกสับปะรดติดต่อกันมานานถึง 20 ปี นำมาใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ศึกษาและพัฒนาการฟื้นฟูคุณภาพ ดิน น้ำ ป่าไม้ และใช้ในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาหญ้าแฝก ได้ทรงมีพระราชดำริ ให้กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกันดำเนินการและได้มีพระราชดำริ เมื่อปี พ.ศ. 2535 ในเรื่องการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการฯ นี้โดยให้พิจารณาพื้นที่ตอนบนด้วยว่า อาจสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กๆ ได้ ต่อมามูลนิธิชัยพัฒนาและมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้พิจารณาเลือกพื้นที่โครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ ส่วนดังกล่าวเป็นพื้นที่ปลูกป่าพระราชทาน โดยให้ชื่อว่า “โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง”



โครงการเศรษฐกิจพอเพียง #ของพ่อหลวง
พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี
มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่า

ต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น

ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔


โครงการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ #ของพ่อหลวง
ในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๖ พ่อหลวงเสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงพยาบาลศิริราช เพื่อทรงเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอยู่เสมอ ทรงทอดพระเนตรสภาพการจราจรอันติดขัดบริเวณ โดยรอบโรงพยาบาลอยู่ประจำซึ่งทรงตระหนักถึง ผลกระทบที่ส่งถึงผู้ป่วยที่ต้องเดินทางมารักษาตัวยัง โรงพยาบาลศิริราช จึงทรงใช้ช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินไปโรงพยาบาลศึกษาสภาพพื้นที่บริเวณโดยรอบอย่างละเอียด และทรงมีพระราชดำริว่าปัญหาการจราจร ที่กำลังเกิดขึ้นนี้สามารถคลี่คลายลงได้ด้วยการขยาย แนวถนนเลียบทางรถไฟสายบางกอกน้อย จากช่วงปลายถนนอิสรภาพถึงถนนจรัญสนิทวงศ์

พ่อหลวงพระราชทานนามถนนสายนี้ว่า “ถนนสุทธาวาส”ตามชื่อวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าว ถนนสุทธาวาส ได้ช่วยบรรเทาปริมาณรถยนต์ที่ผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ บรรจบกับถนนพรานนก(สามแยกไฟฉาย) ให้น้อยลง ซึ่งทำให้การจราจรที่ถนนจรัญสนิทวงศ์คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ ถนนสายนี้ยังเป็นเส้นทางอีกเส้นทางหนึ่งที่จะไปสู่จุดชุมชนในย่านสำคัญๆ เช่น สถานีรถไฟสายธนบุรีโรงพยาบาลศิริราช ตลาดพรานนกได้อีกด้วย


โครงการพัฒนาสวนสาธารณะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน #ของพ่อหลวง
พ่อหลวงทรงรับสั่งแก่คณะทำงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2534 ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่

“ให้ใช้พื้นที่บริเวณฝั่งซ้ายของแม่นํ้าปาย ที่อยู่ตรงข้ามหน่วยงานปศุสัตว์ จัดทำเป็นสวนสาธารณะ (PUBLIC PARK) โดยวิธีสูบน้ำจากแม่น้ำปายขึ้นไปช่วย เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนของเมืองแม่ฮ่องสอน และในสวนสาธารณะต้องมีการสร้างที่พักไว้ด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ชมสวนได้พักผ่อน เมื่อปลูกป่าเต็มบริเวณพื้นที่แล้ว ต่อไปจะเป็นส่วนเดียวกับฝั่งขวา คือศูนย์ท่าโป่งแดงทั้งหมด และถ้ามีเงินก็สามารถทำสะพานข้ามแม่น้ำปายเชื่อมกับสวนสาธารณะข้ามไปฝั่งขวาได้”




โครงการปางตอง 2 [ปางอุ๋ง] จังหวัดแม่ฮ่องสอน #ของพ่อหลวง
ปางตอง 2 หรือที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ “ปางอุ๋ง” ทำให้ไปคล้ายกับสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่แต่จริง ๆ แล้วที่นี่มีชื่อเต็มว่า “โครงการพระราชดำริปางตอง 2” ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของพ่อหลวง ที่ทรงเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้านที่มีกองกำลังต่างๆ อีกทั้งยังมีการปลูกและขนส่งพืชเสพติด รวมถึงการบุ
กรุกตัดไม้ทำลายป่าอยู่เสมอ จึงทรงมีพระราชดำริให้พัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้านด้วยการนำพืชทดแทนเข้ามาให้ชาวบ้านในพื้นที่ปลูกแทนพืชเสพติด สร้างอ่างเก็บน้ำและฟื้นฟูผืนป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม

ปางตอง 2 มีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง มีทิวสนปลูกเรียงรายทอดแนวยาวริมอ่างเก็บน้ำ ในยามเช้าตรู่ของหน้าหนาวถ้าโชคดีพอจะมีหมอกสีขาวลอยต่ำเหนือผิวน้ำให้ได้ชม นอกจากนี้ยังมีหงส์สีขาวและสีดำออกโชว์ตัวคู่กันให้ได้ชมอยู่เสมอ ความโรแมนติกของบรรยากาศแบบนี้นี่เองที่ทำให้ที่นี่ถูกขนานนามจากนักท่องเที่ยวว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย นอกจากนี้แม้ไม่ใช่หน้าหนาวก็มาเที่ยวที่แห่งนี้ได้เพราะอากาศค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี จะมีร้อนบ้างในช่วงกลางวันของหน้าร้อนเท่านั้น


---------------------------------------------


23 หลักการทรงงาน ในหลวงรัชกาลที่ 9



                              Cr. https://www.google.co.th/imgres

 หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกรไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาใด อยู่ห่างไกลสักเพียงใด ก็มิทรงย่อท้อ เข้าไปช่วยเหลือราษฎร ทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้ง ดิน น้ำ ป่าไม้ และพลังงาน หรือแม้กระทั่งการจราจร ทรงคิดค้นหาแนวทางแก้ไข ปัญหาได้อย่างแยบยล
การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงยึดการดำเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และสามารถปฏิบัติได้จริงทรง มีความละเอียดรอบครอบ ทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนา เพื่อมุ่งประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด มีคุณค่า และควรยึดเป็นแบบอย่างในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท นำมาปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดผลต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติตลอดไป หลักการทรงงานในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่สามารถรวบรวมได้ดังต่อไปนี้
          
๑. ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่ง จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่นักวิชาการและราษฎรในพื้นที่ ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง เพื่อที่ จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว ตรงตามความต้องการของประชาชน
         
 ๒. ระเบิดจากข้างใน พระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า "ต้องระเบิดจากข้างใน" หมายความว่า ต้องสร้างความ เข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้าน ที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสได้เตรียมตัว หรือตั้งตัว
          
๓. แก้ปัญหาที่จุดเล็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยม ไปด้วยพระอัจฉริยภาพในการแก้ไขปัญหา ทรงมองปัญหาในภาพ รวม (Macro) ก่อนเสมอแต่การแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็กๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะ มองข้าม
         
๔. ทำตามลำดับขั้น ในการทรงงานของพระองค์จะทรงเริ่มต้น จากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เมื่อมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นจะเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เรียบง่ายเน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์สูงสุด
         
๕. ภูมิสังคม การพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับนิสัยใจคอของคนตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน
          
๖. องค์รวม ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (Holistic) หรือมองอย่าง ครบวงจรในการที่จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้นจะทรงมองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง ดังเช่น กรณีของ "ทฤษฎีใหม่" ที่พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพแนวทางหนึ่งที่พระองค์ทรงมองอย่างองค์รวม ตั้งแต่การถือครองที่ดิน โดยเฉลี่ยของประชาชนคนไทยประมาณ ๑๐-๑๕ ไร่ การบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำอันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพ เมื่อมีน้ำในการเกษตรแล้วจะส่งผลให้ผลผลิตดีขึ้น และหากมีผลผลิตมากขึ้นเกษตรกรต้องรู้จักวิธีการจัดการและการตลาด รวมถึงการรวมกลุ่มรวมพลังชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อพร้อมที่จะออกสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกได้อย่างครบวงจรนั้น คือ ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ ๑, ๒ และ ๓
          
๗. ไม่ติดตำรา การพัฒนาตามแนวพระราชดาริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลมและรอมชอมกับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน "ไม่ติดตำรา" ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย
          
๘. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ในเรื่องของความ ประหยัดนี้ ประชาชนไทยทราบกันดีว่าเรื่องส่วนพระองค์ก็ทรงประหยัดมากดังที่เราเคยเห็นว่า หลอดยาสีพระทนต์นั้นทรงใช้อย่างคุ้มค่าอย่างไร หรือฉลองพระองค์แต่ละองค์ทรงใช้อยู่เป็นเวลานาน ขณะเดียวกันการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎรทรงใช้หลัก ในการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำเองได้ หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ มาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก
          
๙. ทำให้ง่าย Simplicity  ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้การคิดค้นดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ ดาเนินการไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และที่สำคัญยิ่งคือ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศโดยส่วนรวมตลอดจนสภาพสังคมของชุมชนนั้นๆ ทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่าย นำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย อันเป็นการแก้ปัญหาด้วยการใช้กฎธรรมชาติเป็นแนวทางนั่นเอง แต่การทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่ายนั้นเป็นของยาก ฉะนั้นคำว่า "ทำให้ง่าย"หรือ Simplicity จึงเป็นหลักคิดสำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศในรูปแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
          
๑๐. การมีส่วนร่วม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักประชาธิปไตย จึงทรงนำ "ประชาพิจารณ์" มาใช้ในการบริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนหรือต้องการของสาธารณชน
          
๑๑. ประโยชน์ส่วนรวม การปฏิบัติในพระราชกรณียกิจ และการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงระลึกถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ
          
๑๒. บริการรวมที่จุดเดียว One Stop Services  การบริการรวมที่จุดเดียว เป็นรูปแบบการบริการแบบเบ็ดเสร็จที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย โดยทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้นแบบในการบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว เพื่อประโยชน์ที่จะมาขอใช้บริการจะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยจะมีหน่วยงานราชการต่างๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการประชาชน ณ ที่แห่งเดียว
          
๑๓. ทรงใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและ ต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหาธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ อาทิ การแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรม ได้พระราชทานพระราชดำริ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งการปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง
          
๑๔. ใช้อธรรมปราบอธรรม ทรงนำความจริง ในเรื่องความเป็นไป แห่งธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการ แนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การทำน้ำดี ขับไล่น้ำเสีย หรือเจือจางน้ำเสียให้กลับเป็นน้ำดี ตามจังหวะการขึ้นลงตามธรรมชาติของน้ำ การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยใช้ผักตบชวา ซึ่งมีตามธรรมชาติให้ดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ ดังพระราชดำรัสความว่า "ใช้อธรรมปราบอธรรม"
          
๑๕. ปลูกป่าในใจคน เป็นการปลูกป่าลงบนแผ่นดินด้วยความ ต้องการอยู่ของมนุษย์ ทำให้ต้องการบริโภคและใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง เพื่อประโยชน์ของตนเองและสร้างความ เสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมไม่รู้จักพอ ปัญหาความไม่สมดุลจึงบังเกิด ขึ้น ดังนั้นในการฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนมาจะต้องปลูกจิตสำนึกในการรักผืนป่าให้แก่คนเสียก่อน
          
๑๖. ขาดทุนคือ กำไร"ขาดทุน คือ กำไร Our loss is gain การเสียคือ การได้ประเทศชาติก็จะก้าวหน้าและการคนอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นการนับที่เน้นมูลค่าเงินไม่ได้" จากพระราชดำรัส ดังกล่าว คือ หลักการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อ พสกนิกรไทย "การให้" และ "การเสียสละ" เป็นการกระทำอันมีผล เป็นกำไร คือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนได้
          
๑๗. การพึ่งพาตนเอง การพัฒนาตามแนวพระราชดาริ เพื่อการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นตอนต่อไปก็คือ การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถ "พึ่งตนเองได้" ในที่สุด
          
๑๘. พออยู่พอกิน การพัฒนาเพื่อให้พสกนิกรทั้งหลายประสบความสุขสมบูรณ์ในชีวิตได้เริ่มจากการเสด็จฯ ไปเยี่ยมประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง จึงทรงสามารถเข้าพระราชหฤทัยในสภาพปัญหาได้อย่างลึกซึ้ง ในการพัฒนานั้น หากมองใน ภาพรวมของประเทศมิใช่งานเล็กน้อย แต่ต้องใช้ความคิดและกาลังของคนทั้งชาติจึงจะบรรลุผลสาเร็จ ด้วยพระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทำให้คนทั้งหลายได้ประจักษ์ว่าแนวพระราชดำริในพระองค์นั้น "เรียบง่ายปฏิบัติได้ผล" เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน
          
๑๙. เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดจนกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้พระราชทานไว้ดังนี้
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควร ต่อมามีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการทาวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน

๒๐. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน "คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและ ความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณเป็น ประโยชน์แท้จริงที่สำเร็จ" พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒
          "ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้ มากกว่าผู้ที่มีความรู้มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ" พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ๒๕๓๓
          "ผู้ว่า CEO ต้องเป็นคนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป ข้าราชการหรือประชาชนที่มีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพราะมีการทุจริต" พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๖
          
๒๑. ทำงานอย่างมีความสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระเกษมสำราญ ทรงมีความสุขทุกคราที่จะช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเคยรับสั่งครั้งหนึ่งว่า "ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น"
          
๒๒. ความเพียร : พระมหาชนก จากพระราชนิพนธ์ พระ มหาชนก เป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงใช้เวลาค่อนข้างนาน ในการคิด ประดิษฐ์ด้วยการทำให้เข้าใจง่าย ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพสังคม ปัจจุบัน อีกทั้งภาพประกอบ และคติธรรมต่างๆ ได้ส่งเสริมให้หนังสือ เล่มนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ ที่หากคนไทยน้อมรับมาศึกษาวิเคราะห์และปฏิบัติตามรอยพระมหาชนก กษัตริย์ผู้เพียรพยายาม แม้จะไม่เห็นฝั่ง ก็ยังว่ายทำต่อไป เพราะถ้าไม่เพียรว่ายก็จะตกเป็นอาหารปูปลา และไม่ได้พบกับเทวดาที่มาช่วยเหลือมิให้จมน้ำ เช่นเดียวกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงริเริ่มทำโครงการต่างๆ ในระยะ แรก ที่ไม่มีความพร้อมในการทางานมากนัก และทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น แต่พระองค์ก็มิได้ท้อพระราชหฤทัย มุ่งมั่นพัฒนาบ้านเมืองให้บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข
          
๒๓. รู้ รัก สามัคคี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสในเรื่อง "รู้ รัก สามัคคี" มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสามคำ ที่มีค่าและมีความหมายลึกซึ้ง พร้อมทั้งสามารถปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
          รู้ : การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหา
         รัก : คือความรัก เมื่อเรารู้ครบด้วยกระบวนการความแล้ว จะต้องมีความรักการพิจารณาที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ
         สามัคคี : การที่จะลงมือปฏิบัตินั้น ควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจเป็นองค์กรเป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

---------------------------------------------

บทสวดมนต์

                                                       CR. https://www.pinterest.com/pin/363243526171102449/

บทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

บทสวดมนต์ อาราธนาศีล 5

อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ

บทสวดมนต์ นะโมสรรเสริญพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (กล่าว 3 จบ)

บทสวดมนต์ก่อนนอน ไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณังคัจฉามิ

บทสวดมนต์ สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

บทสวดมนต์ อธิษฐานรักษาศีล 5

ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจะขอรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ดังเดิม

บทสวดมนต์ก่อนนอน ศีล 5

อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (กล่าว 3 จบ)

บทสวดมนต์ แผ่เมตตาแก่ตนเอง

กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์การทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด

บทสวดมนต์ แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่ส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่บิดามารดาของข้าพเจ้า ขอให้บิดามารดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของรข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
คำแปล: ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ.




ที่มา :


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม